บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ สร้างและพัฒนา และประเมินผลรูปแบบการเสริมสร้างความยึดเหนี่ยวทางสังคมผ่านการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้าน เพื่อสร้างสังคมคุณภาพทุกช่วงวัยรองรับสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดสกลนคร ขอบเขตด้านกลุ่มเป้าหมาย ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญจำนวน 21 คน ผู้สูงอายุจำนวน 9 คน ผู้เชี่ยวชาญเพื่อสนทนากลุ่มจำนวน 9 คน และผู้เข้าร่วมสัมมนาจำนวน 50 คน เป็นการวิจัยและพัฒนา แบ่งออกเป็น 3 ระยะ รวม 6 ขั้นตอน
ผลการวิจัยพบว่า
1) รูปแบบการเสริมสร้างความยึดเหนี่ยวทางสังคมผ่านการเรียนรู้ดนตรีพื้นบ้าน เพื่อสร้างสังคมคุณภาพทุกช่วงวัยรองรับสังคมผู้สูงอายุในจังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการ การประเมินผล และเงื่อนไขความสำเร็จ
2) รูปแบบมีลักษณะเป็นเอกสาร เนื้อหาส่วนที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับอังกะลุง และส่วนที่ 2 การฝึกปฏิบัติอังกะลุง และ
3) รูปแบบมีอรรถประโยชน์ เชื่อว่าจะทำให้ผู้สูงอายุหรือผู้ที่กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเกิดความยึดเหนี่ยวทางสังคมโดยเป็นการเกาะเกี่ยวอยู่ร่วมกันด้วยความสัมพันธ์ สมาชิกทุกคนยอมรับความเท่าเทียมกัน มีความสมานฉันท์ และมีการเสริมพลังให้เกิดมากขึ้นที่จะพัฒนาตนเองอย่างเต็มศักยภาพ
คำสำคัญ
ดนตรีพื้นบ้าน ความยึดเหนี่ยวทางสังคม สังคมคุณภาพบรรณานุกรม
ก
กำลังออนไลน์: 1
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 300
เดือนนี้: 3,155
ปีนี้: 35,362
จำนวนเข้าชม: 117,174
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th