จริยธรรมในการตีพิมพ์บทความวิจัย และบทความวิชาการ
ในวารสารภูพานสาส์น วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ยึดมั่นในหลักจริยธรรมการพิมพ์ตามมาตรฐานระดับนานาชาติ ตามกรอบแนวทางจริยธรรมการตีพิมพ์ของ Committee on Publcation Ethice (COPE) ดังต่อไปนี้
จริยธรรมในการตีพิมพ์ของกองบรรณาธิการวารสารภูพานสาส์นฯ
1. กองบรรณาธิการมีหน้าที่จัดทำวารสารให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนามมหาวิทยาลัย และจัดทำวารสารให้มีคุณภาพ บริหารจัดการวารสารแต่ละฉบับให้ออกตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ และเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานของศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI)
2. กองบรรณาธิการมีความเป็นกลางในหน้าที่ โดยไม่แบ่งแยกความแตกต่างเรื่องเพศ เชื้อชาติ ศาสนา หรือความเชื่อทางการเมือง
3. กองบรรณาธิการได้กำหนดแนวทางสำหรับผู้นิพนธ์ และผู้ทรงคุณวุฒิ (ผู้ประเมิน) อย่างชัดเจน
4. กองบรรณาธิการมีการคัดเลือกบทความในการตีพิมพ์ตามวัตถุประสงค์ของวารสาร และมีการอธิบายขั้นตอน วิธีการตีพิมพ์บทความไว้อย่างชัดเจน โดยศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของวารสาร และมีการจัดการต้นฉบับบทความที่ได้รับเข้ามาอย่างเป็นธรรม ปราศจาคอคติในกรอบเวลาที่เหมาะสม และจัดการต้นฉบับในทางลับ ส่งต่อบุคคลที่สามเพื่อเป้าประสงค์สำหรับการประเมินบทความแต่เพียงเท่านั้น
5. กองบรรณาธิการมีระบบการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อนของบรรณาธิการ กองบรรณาธิการ ผู้นิพนธ์ต้นฉบับ ตลอดจนผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ทำการประเมินบทความอย่างชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นได้ว่าข้อมูลของผู้ประเมินบทความจะได้รับการคุ้มครอง และการพิจารณาบทความของกองบรรณาธิการผ่านระบบประเมินของวารสารฯ ให้ถือเป็นที่สิ้นสุด หากมีการเปลี่ยนกองบรรณาธิการคนใหม่จะมีการส่งต่องานทั้งหมด และจะชี้แจงให้สมาชิกในกองบรรณาธิการทราบเกี่ยวกับนโยบาย/แนวทางในการทำงานใหม่ๆที่อาจจะเกิดขึ้นสม่ำเสมอ
จริยธรรมในการตีพิมพ์สำหรับผู้นิพนธ์
1. ผู้นิพนธ์ต้องชี้แจงต่อ วารสารภูพานสาส์น วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ว่าต้นฉบับงานเขียนที่เสนอต่อวารสารฯนั้น เป็นงานที่ผลิตขึ้นเอง และมีการอ้างอิงถูกต้องตามหลักวิชาการเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการขโมยผลงานวิชาการผู้อื่น (Plagiarism)
2. ต้นฉบับของผู้นิพนธ์ต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ หรือทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นไม่ว่าในกรณีใด ๆ
3. ในกรณีที่ผู้นิพนธ์ มากกว่า 1 คน การเรียงลำดับชื่อผู้นิพนธ์ ให้เป็นการตัดสินใจของผู้นิพนธ์ร่วมทุกคน และชี้แจงต่อบรรณาธิการให้ชัดเจน
4. ผู้นิพนธ์ต้องไม่เสนอต้นฉบับซ้ำซ้อนกับวารสารวิชาการอื่นในช่วงเวลาเดียวกันกับที่เสนอต่อวารสารภูพานสาส์น วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
5. ผู้นิพนธ์ต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษรจากบุคคลที่สามอย่างชัดเจนในการผลิตซ้ำเนื้อหาและรูปแบบที่มีลิขสิทธิ์ (Text and image)
6. ผู้นิพนธ์ควรต้องระบุแหล่งทุนในการทำวิจัยให้ชัดเจนในต้นฉบับ (ถ้ามี)
7. ในกรณีที่ อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อนในประเด็นเกี่ยวเนื่องกับเนื้อหาที่จะตีพิมพ์ในวารสารภูพานสาส์น วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ไม่ว่ากรณีใด ๆ ผู้นิพนธ์ต้องระบุ ไว้ให้ชัดเจนด้วย
8. ผู้นิพนธ์ต้องแจ้งต่อบรรณาธิการหากตรวจพบว่ามีความผิดพลาดในการตีพิมพ์ เพื่อให้ทางวารสารภูพานสาส์น วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ได้จัดพิมพ์แก้ไข ก่อนเผยแพร่สู่สาธารณะ
9. ผู้นิพนธ์ย่อมมีสิทธิ์ที่จะร้องเรียนหรือขอคำชี้แจงจากบรรณาธิการเกี่ยวกับการตัดสินใจตีพิมพ์ผลงานต่าง ๆ
จริยธรรมในการตีพิมพ์สำหรับผู้ประเมินบทความ
1. ผู้ประเมินบทความควรมีส่วนช่วยในการพัฒนาคุณภาพของบทความต้นฉบับด้วยความใส่ใจ มีความเป็นกลาง และทำงานภายใต้กรอบเวลาที่เหมาะสม
2. ผู้ประเมินต้องแจ้งต่อบรรณาธิการทันที หากมีข้อสงสัยว่าบทความนั้นมีความเสี่ยงต่อการคัดลอกผลงานทางวิชาการจากที่อื่นมาโดยไม่มีการอ้างอิง
3. ผู้ประเมินต้องชี้แจงกรณีผลประโยชน์ทับซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นในประเด็นเกี่ยวกับบทความที่ตนเองได้รับมอบหมายให้ทำหน้าที่ประเมิน
4. ผู้ประเมินต้องเคารพในข้อมูลลับของต้นฉบับตลอดกรับวนการประเมิน
กำลังออนไลน์: 7
วันนี้: 48
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 2,903
ปีนี้: 35,110
จำนวนเข้าชม: 116,922
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th