บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การสื่อสารในคำอวยพรพิธีกรรมแต่งงานของภูไทกะป๋อง บ้านดงน้อย ตำบลวาริชภูมิ อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร โดยใช้แนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร มีวิธีการศึกษาด้วยการเก็บข้อมูลภาคสนามด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกเกี่ยวกับคำอวยพรในพิธีกรรมการแต่งงาน จากตัวอย่างวิจัยที่มาจากการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 22 คน และนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า ชาวภูไทกะป๋องบ้านดงน้อย อำเภอวาริชภูมิ จังหวัดสกลนคร มีการสืบทอดพิธีกรรมการแต่งงานเป็นแนวปฏิบัติมาตั้งแต่บรรพบุรุษ การอวยพรในพิธีกรรมการแต่งงานเป็นส่วนสำคัญ เนื่องจาก การอวยพรเป็นการสรุปวัตถุประสงค์ของพิธีกรรมเอาไว้ โดยคำอวยพรที่ใช้ในพิธีกรรมมีหลายสำนวนเพื่อใช้สื่อความหมายในการแสดงความยินดีแก่คู่บ่าว-สาว โดยเนื้อหาของคำอวยพรที่พบจำนวน 41 สำนวน โดยจัดกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม ประกอบด้วย 1) คำอวยพรขนาดสั้น จำนวน 39 สำนวน และ 2) คำอวยพรขนาดยาว จำนวน 2 สำนวน จากการวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎีแนวคิดชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสาร หรือ SPEAKING ของเดลล์ ไฮมส์ พบว่า มีลักษณะสอดคล้องกับชาติพันธุ์วรรณนาแห่งการสื่อสารครบทั้ง 8 ส่วน และผลการวิเคราะห์คำอวยพรในพิธีกรรมแต่งงานของชาวภูไทกะป๋องยังมีนัยยะทางความหมายจำนวน 7 ความหมาย ประกอบด้วย 1) ความแข็งแรง 2) ความเจริญ 3) ความสุข 4) ความร่ำรวย 5) ความปลอดภัย 6) ความมั่นคง และ 7) การสืบทอด
คำสำคัญ
ชาติพันธุ์วรรณาแห่งการสื่อสาร / คำอวยพร / พิธีกรรมแต่งงาน / ภูไทกะป๋องกำลังออนไลน์: 2
วันนี้: 88
เมื่อวานนี้: 159
เดือนนี้: 3,413
ปีนี้: 35,620
จำนวนเข้าชม: 117,432
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th