...
กลวิธีการใช้คำแช่งในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย
ผู้แต่ง
กรรณิกา ศรีลาราช, สายชล ศรีผูย, อัษฎา ดาวเศรษฐ์, นัฐชนก อวนป้อง, ชุติมณฑน์ ใยแก้ว, ปกกสิณ ชาทิพฮด และ กันยารัตน์ มะแสงสม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษากลวิธีการใช้ภาษาในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย และ 2) เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการใช้คำแช่งที่ปรากฏในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย โดยศึกษาจากเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยที่มีคำแช่งปรากฏอยู่ในเนื้อเพลง จำนวน 20 เพลง ซึ่งเป็นเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยที่มีจำนวนการเข้าชมมากกว่า 100,000 ครั้งขึ้นไป และเลือกตัวอย่างเพลงตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึงปี พ.ศ. 2564 ทำให้ได้ข้อมูลเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับคำแช่งจำนวน 10 เพลง
ผลการศึกษาพบว่า กลวิธีการใช้ภาษาในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยทั้งสิ้น 4 กลวิธี ประกอบด้วย 1) กลวิธีทางภาษาด้านการใช้คำ 2) กลวิธีทางภาษาด้านการใช้สำนวน 3) กลวิธีทางภาษาด้านการใช้ความหมาย และ 4) กลวิธีทางภาษาด้านใช้โวหารภาพพจน์  ส่วนกลวิธีการใช้คำแช่งในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัย ปรากฏทั้งสิ้น 8 กลวิธี ประกอบด้วย 1) การใช้คำว่า ขอให้+(ความหมายเชิงลบ/ความไม่ดี/ความมุ่งร้าย/ความปรารถนาร้าย) = การแช่ง การสาปแช่ง 2) การใช้คำว่า อย่าให้+(ความหมายเชิงบวก/ความดี/ความหวังดี/ความปรารถนาดี) = การแช่ง การสาปแช่ง 3) การใช้คำว่า ให้+(ความหมายเชิงลบ/ความไม่ดี/ความมุ่งร้าย/ความปรารถนาร้าย) = การแช่ง การสาปแช่ง 4) การใช้คำว่า บ่ให้ + (ความหมายเชิงบวก/ความดี/ความหวังดี/ความปรารถนาดี) = การแช่ง การสาปแช่ง 5) การใช้คำว่า อย่าได้ + (ความหมายเชิงบวก/ความดี/ความหวังดี/ความปรารถนาดี)  = การแช่ง การสาปแช่ง 6) การใช้คำว่า ขอแช่ง+(ความหมายเชิงลบ/ความไม่ดี/ความมุ่งร้าย/ความปรารถนาร้าย) = การแช่ง การสาปแช่ง 7) การใช้คำว่า แช่ง+(ความหมายเชิงลบ/ความไม่ดี/ความมุ่งร้าย/ความปรารถนาร้าย) = การแช่ง การสาปแช่ง และ 8) การใช้คำว่าคำว่า สาธุ+(ความหมายเชิงลบ/ความไม่ดี/ความมุ่งร้าย/ความปรารถนาร้าย) = การแช่ง การสาปแช่ง ทั้งนี้ กลวิธีการใช้คำแช่งในเพลงลูกทุ่งร่วมสมัยได้นำเสนอเรื่องราวและความคิดของผู้สร้าง โดยการนำคำแช่งเข้ามาอยู่ในส่วนใดส่วนหนึ่งของบทเพลง เพื่อต้องการสื่อให้เห็นถึงเจตนาถ้อยคำแสดงการสาปแช่ง ให้ผู้ฟังเข้าถึงความหมายของเพลงนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี
 

คำสำคัญ

กลวิธีการใช้ภาษา / เพลงลูกทุ่งร่วมสมัย / คำแช่ง


หน้า: 199-216

ประเภท: บทความวิจัย

เผยแพร่: 1 ก.ค. 2566

View: 554

Download: 110

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เท่านั้น
ภาษา
ค้นหา
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 2

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 299

เดือนนี้: 3,154

ปีนี้: 35,361

จำนวนเข้าชม: 117,173


สำนักงานวารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี

โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th