บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการบริหารจัดการของกลุ่มสานตะกร้าบ้านผักปัง และศึกษาปัญหาและความต้องการของกลุ่มสานตะกร้าบ้านผักปัง หมู่ที่ 1 ตำบลผักปัง อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก ได้แก่ ประธานกลุ่ม รองประธานกลุ่ม เหรัญญิก เลขานุการ ฝ่ายประชาสัมพันธ์ ฝ่ายการตลาด คณะกรรมการกลุ่ม สมาชิกกลุ่ม เจ้าหน้าที่จากสำนักงานพัฒนาชุมชน และผู้บริโภค รวมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใชในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุม การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยดำเนินการจัดกระทำการตรวจสอบข้อมูลตลอดเวลาที่ทำการวิจัย รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลหลังเสร็จสิ้นการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม จะนำข้อมูลที่ได้มาจัดประเภทของข้อมูล เขียนสรุปรายละเอียดและแยกแต่ละประเด็นตามวัตถุประสงค์การวิจัย
ผลการศึกษา พบว่า ด้านการบริหารจัดการกลุ่มตามหลัก 4 ประกอบด้วย ด้านคน กลุ่มไม่มีการบริหารที่เป็นระบบ ไม่ได้มีการแบ่งหน้าที่ให้กับสมาชิกตามความสามารถและทักษะ ด้านการเงิน กลุ่มขาดการจัดทำบัญชีรายรับรายจ่ายอย่างต่อเนื่องมีเพียงการเก็บใบเสร็จในการซื้อสินค้าเท่านั้น ด้านวัสดุอุปกรณ์ ไม่มีการดำเนินการจัดทำรายการวัสดุ ด้านการจัดการภายในกลุ่ม กลุ่มยังไม่มีการวางโครงสร้างของกลุ่ม ทำเนียบคณะกรรมการ ปัจจุบันใช้เป็นเพียงการรับรู้เท่านั้น ส่วนผลการศึกษาด้านปัญหาและความต้องการของกลุ่ม สามารถสรุปการศึกษาได้ดังนี้ ปัญหาด้านการบริหารจัดการ ปัญหาด้านเงินทุนกลุ่ม ปัญหาด้านการผลิต ปัญหาด้านการตลาด ปัญหาด้านผลิตภัณฑ์ จากทั้งหมด 5 ปัญหา กลุ่มมีความต้องการพัฒนากลุ่มดังนี้ การพัฒนาการบริหารจัดการ การสนับสนุนเงินทุน การพัฒนาด้านการผลิต การจัดการด้านตลาดออนไลน์ การพัฒนาลวดลายผลิตภัณฑ์ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการดำเนินงานต่อไป
คำสำคัญ
การบริหารจัดการ, สินค้าโอทอป, กลุ่มสานตะกร้าบรรณานุกรม
กรมการพัฒนาชุมชน. (2561). แนวทางการดำเนินงานนโยบายสานพลังประชารัฐในการ
ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐ. กรมการพัฒนาชุมชน.
สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน.
วารีพร ชูศรี. (2560). ศึกษาแนวทางการบริหารจัดการของกลุ่มผู้ผลิตสินค้ากรงนกเขา OTOP
ระดับ 5 ดาวเพื่อการเข้าสู่ตลาดอาเซียน กรณีศึกษากลุ่มผู้ผลิตบ้านหัวดินเหนือ
หมู่ที่ 8 อําเภอจะนะ จังหวัดสงขลา.สาขาวิชาการจัดการ. คณะบริหารธุรกิจ :
มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอเมืองกำแพงเพชร. (2561). ความเป็นมา แนวคิดและหลักการ
OTOP : One Tambon One Product. ct. <
https://district.cdd.go.th/muang - kamphaeng/services/ one –
tambon - one -product/> ค้นเมื่อวันที่ 12 กันยายน 2566
อัจฉรา อันสมศรี. (2557 : 6) แนวคิดทฤษฎีด้านการจัดการ.
http://cmuir.cmu.ac.th/bitstream/ 6653943832/39757/3/FULL.pdf>
ค้นเมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2566.
อัญชัญ จงเจริญ. (2554). พัฒนารูปแบบ และมาตรฐานการจัดการธุรกจิร้านจำหน่ายสินค้า
OTOP และของฝากชุมชน จังหวัดระนอง. ศูนย์การศึกษาวิจัยด้านสุขภาพ
การท่องเที่ยว และการโรงแรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
กำลังออนไลน์: 1
วันนี้: 101
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 2,956
ปีนี้: 35,163
จำนวนเข้าชม: 116,975
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th