...
หลักพุทธธรรมที่ผู้นำพึงมี และพึงปฏิบัติในการครองตน ครองคน ครองงาน
ผู้แต่ง
พิสันต์ จันทร์ศิลป์, ทัศนีย์ ดอนเนตร์ และ สุพิชชา ชุ่มมะโน

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหลักพุทธธรรมที่ผู้นำพึงมี และพึงปฏิบัติในการครองตน ครองคน ครองงาน และนำเสนอรูปแบบของหลักพุทธธรรมในการครองตน ครองคน ครองงาน ของผู้นำองค์กรคุณลักษณะของผู้นำพึงมี และพึงปฏิบัติ โดยการนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในการบริหารจัดการองค์กรและเป็นผู้นำในการพัฒนาสังคม ที่จะต้องยึดหลักในการดำรงตนให้เป็นแบบอย่าง ในการครองตน ครองคน และครองงาน โดยการนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในการตัดสินใจ เพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ที่เป็นต้นแบบโดยหลักพุทธธรรมในการครองตนได้แก่ หลักไตรสิกขา ประกอบด้วยศีล สมาธิ และปัญญา เป็นธรรมสำหรับการปฏิบัติตนในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ รับการพัฒนาทางกาย วาจาและใจ และหลักฆราวาสธรรม ๔ ประกอบด้วยสัจจะ ทมะ ขันติ และจาคะ เป็นหลักในการใช้ชีวิต หลักพุทธธรรมในการครองคน ได้แก่ หลักพรหมวิหาร ๔ ประกอบด้วยเมตตา กรุณา มุฑิตา และอุเบกขา เป็นธรรมอันประเสริฐ หลักความประพฤติที่ประเสริฐบริสุทธิ์ และหลักสังคหวัตถุ ๔ ประกอบด้วยทาน ปิยวาจา อัตถจริยา และสมานัตตตา เป็นธรรม ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจบุคคล หลักในการสร้างความรัก ความสามัคคี สงเคราะห์ประชาชน และหลักพุทธธรรมในการครองงาน ได้แก่ อิทธิบาท ๔ ประกอบด้วยฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา เป็นธรรมที่นำไปสู่ความสำเร็จแห่งผลที่มีจุดหมายปลายทางร่วมกัน  และหลักธรรมพุทธธรรม ที่จะสอดคล้องเชื่อมโยงกันทั้งหลักในการครองตน ครองคน ครองงาน คือ หลักสัปปุริสธรรม ๗ และหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ๓ ห่วง อธิบายได้ดังนี้ การครองตน จะสอดคล้อง กับความพอประมาณ กับหลักมัตตัญญุตา คือเป็นผู้รู้จักประมาณ และหลักอัตตัญญุตา คือเป็นผู้รู้จักตน การครองคน จะสอดคล้องกับความมีเหตุผล กับหลักธัมมัญญุตา คือเป็นผู้รู้จักเหตุ และหลักอัตถัญญุตา คือเป็นผู้รู้จักผล การครองงาน จะสอดคล้องกับความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว กับหลักกาลัญญุตา คือเป็นผู้รู้จักกาล หลักปริสัญญุตา คือเป็นผู้รู้จักชุมชน และหลักปุคคลัญญุตา หรือ ปุคคลปโรปรัญญุตา คือเป็นผู้รู้จักบุคคล อีกทั้งการพัฒนาผู้นำโดยการนำหลักพุทธธรรม ยังสอดคล้องกับพระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๑๐ โปรดเกล้าฯ พระราชทานภาพวาดการ์ตูนฝีพระหัตถ์สืบสาน (อภิรักษ์) รักษา (อนุรักษ์) ต่อยอด (อภิวัฒน์) และได้พระราชทานดำริหลักการ “บวร” (บ้าน วัด โรงเรียน/ราชการ) การสร้างความเข้มแข็งของเครือข่าย โดยนำมาเป็นกลไกขับเคลื่อนพัฒนาสังคมต่อไป

คำสำคัญ

หลักพุทธธรรม, การครองตน ครองคน ครองงาน


หน้า: 110-135

ประเภท: บทความวิชาการ

เผยแพร่: 1 ก.ค. 2565

View: 315

Download: 36

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เท่านั้น
ภาษา
ค้นหา
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 12

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 179

เดือนนี้: 2,113

ปีนี้: 26,977

จำนวนเข้าชม: 108,789


สำนักงานวารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี

โทร: 0636255597