...
รูปแบบการดำเนินงานเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพสำหรับเยาวชนของสถานศึกษาในจังหวัดเชียงราย
ผู้แต่ง
นรินทร ชมชื่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินงานเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพสำหรับเยาวชนของสถานศึกษาในจังหวัดเชียงรายและศึกษาผลการนำรูปแบบการเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพสำหรับเยาวชนไปใช้ของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาที่มีความประสงค์ในการพัฒนาทักษะและประสบการณ์ ด้านอาชีพให้แก่ผู้เรียน จำนวน 21 แห่ง ซึ่งได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยเก็บข้อมูลจากผู้บริหารสถานศึกษา ครูแกนนำ/ครูแนะแนวในโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 42 คน และผู้เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนกลุ่มตัวอย่าง    การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพัฒนา ดำเนินการเป็น 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาวิเคราะห์บริบทของสถานศึกษา 2) พัฒนารูปแบบกิจกรรม 3. สถานศึกษานำรูปแบบไปใช้  4)  ติดตาม ประเมินผล กลุ่มตัวอย่าง คือ สถานศึกษาที่จัดการศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน 21 แห่ง สุ่มเลือกแบบเจาะจงจากสถานศึกษาที่มีความสนใจเข้าร่วมโครงการ เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบติดตาม ประเมินผล วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าร้อยละและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบการดำเนินงานเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพสำหรับเยาวชนของสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) การทำโครงการ/กิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพในสถานศึกษา 2) ดำเนินงานโดยการมีส่วนร่วมผู้เกี่ยวข้อง 3) พัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนด้านทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพ 4) จัดทำคู่มือพัฒนาอาชีพให้ผู้เรียน 5) จัดกิจกรรมอาชีพให้กับผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง 6) จัด PLC เสริมทักษะอาชีพและขยายผลเพื่อการเรียนรู้และพัฒนาทักษะอาชีพให้แก่ผู้เรียน

2. ผลการใช้รูปแบบดำเนินงานเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพสำหรับเยาวชน พบว่า สถานศึกษาทุกแห่งจัดกิจกรรมเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์อาชีพตามบริบทของสถานศึกษา โดยมีสถานศึกษาที่ปฏิบัติตามรูปแบบครบทั้ง 6 รายการ ร้อยละ 72 รายการที่ปฏิบัติมากที่สุด ได้แก่  การจัดทำโครงการ/จัดกิจกรรมพัฒนาการเรียนรู้ (ร้อยละ 100) ส่วนรายการที่ปฏิบัติได้น้อยที่สุด ได้แก่ การจัดทำคู่มือพัฒนาอาชีพให้ผู้เรียน (ร้อยละ 48) ด้านการจัดกิจกรรมของครูพบว่า ครูทุกคนจัดกิจกรรมฝึกทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพให้กับผู้เรียน (ร้อยละ 100) ส่วนรายการที่ครูปฏิบัติได้น้อยที่สุด คือ การนำกิจกรรมเสริมทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพบรรจุเป็นหลักสูตรการเรียนการสอน (ร้อยละ 57) ด้านผลที่เกิดกับผู้เรียน พบว่า ผู้เรียนร้อยละ 93 ได้เรียนรู้กิจกรรมเสริมทักษะอาชีพเพิ่มเติมจากการเรียนรู้ตามหลักสูตร ผู้เรียน      มีความสนใจเรียนในกิจกรรมเสริมทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพ ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์ทักษะด้านอาชีพ จากประสบการณ์ตรง และได้ลงมือปฏิบัติจริง

คำสำคัญ

รูปแบบการดำเนินงาน, การเสริมสร้างทักษะและประสบการณ์ด้านอาชีพ, สถานศึกษา


หน้า: 183-203

ประเภท: บทความวิจัย

เผยแพร่: 1 ก.ค. 2565

View: 225

Download: 47

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เท่านั้น
ภาษา
ค้นหา
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 145

เมื่อวานนี้: 163

เดือนนี้: 3,000

ปีนี้: 35,207

จำนวนเข้าชม: 117,019


สำนักงานวารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี

โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th