บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการทอเสื่อผือกับการจัดการทุนชุมชน กรณีบ้านบอน ตำบลนาโพธิ์ อำเภอกุสุมาลย์ จังหวัดสกลนคร โดยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย ผู้นำชุมชน ปราชญ์ชุมชน ผู้ประกอบอาชีพทอเสื่อผือ และผู้ที่มีทักษะด้านการทอเสื่อผือ จำนวน 12 ราย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสนทนากลุ่ม และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า การจัดการทุนชุมชนชนผ่านกระบวนการทอเสื่อผือของชาวบ้าน ได้มีการจัดการทุนชุมชนใน 3 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่ 1) “ทุนทางชีวภาพ” ด้วยการนำต้นผือที่ขึ้นอยู่ตามพื้นที่ทางการเกษตรและตามแหล่งน้ำธรรมชาติมาเป็นวัตถุดิบหลักของการทอเสื่อ 2) “ทุนทางสังคม” ถูกนำมาใช้สองลักษณะ คือ “ทุนมนุษย์” ผู้รู้ที่มีความรู้ภายในชุมชน มีทักษะ และ รู้จักขั้นตอนวิธีการผลิตเสื่อผือ และ “ทุนสังคม” ด้วยการใช้ลักษณะความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และระบบอาวุโส สร้างความไว้เนื้อเชื่อใจในการช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างชาวบ้าน ซึ่งเป็นแรงงานสำคัญในกระบวนการทอเสื่อ 3) “ทุนทางวัฒนธรรม” ถูกนำมาใช้ผ่านภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านงานหัตถกรรมจักสานพื้นบ้านมีการเรียนรู้ของชุมชนด้วยการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมาแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถสร้างงานและเสริมสร้างรายได้ให้แก่ชุมชน
คำสำคัญ
เสื่อผือ, หัตถกรรมพื้นบ้าน, การจัดการ, ทุนชุมชน
หน้า: 9-30
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 28 ธ.ค. 2565
View: 366
Download: 56
กำลังออนไลน์: 9
วันนี้: 150
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 3,005
ปีนี้: 35,212
จำนวนเข้าชม: 117,024
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th