บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาถึงบทบัญญัติ และเจตนารมณ์ของกฎมายที่มีผลบังคับต่อเขตพื้นที่ทะเลสาบหนองหาร 2. ศึกษาถึงความสัมพันธ์ของกฎหมายที่บังคับเหนือพื้นที่หนองหาร โดยใช้วิธีวิทยาการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งมีเครื่องมือการวิจัยได้แก่ การวิจัยเอกสาร เกี่ยวกับแนวคิด ทฤษฎีความสัมพันธ์ของกฎหมายและกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับประชากรที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายเขตพื้นที่หนองหาร ได้แก่ ประชาชน เจ้าหน้าที่ และนักวิชาการ
ผลการวิจัยพบว่า 1) มีกฎหมายที่บังคับใช้เหนือพื้นที่หนองหารตามลำดับชั้นดังนี้กฎหมายสูงสุดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ลำดับชั้นพระราชบัญญัติได้แก่ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ พ.ร.บ.ให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 พระราชบัญญัติ การประมง พ.ศ. 2558 พ.ร.บ. เทศบาล พ.ศ. 2596 ลำดับชั้นพระราชกฤษฎีกา ได้แก่ พระราชกฤษฎีกา กำหนดเขตต์หวงห้ามที่ดินในท้องที่อำเภอเมืองสกลนคร พ.ศ. 2484 ซึ่งมีเจตนารมณ์เป็นการเฉพาะของแต่ละบทบัญญัติที่เจาะจงใช้เฉพาะกรณี 2) บทเฉพาะกาลแห่งประมวลกฎหมายที่ดินที่ยังคงให้ใช้เขตพื้นที่หวงห้ามตามพ.ร.บ.ว่าด้วยการหวงห้ามที่ดินรกร้างว่างเปล่าอันเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน พ.ศ. 2478 มีความขัดแย้งกับสิทธิชุมชนตามรัฐธรรมนูญ และหน่วยงานแต่ละหน่วยงานมีหน้าที่แบ่งแยกกันในแต่ละด้านตามบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้อำนาจไว้เป็นการเฉพาะ แม้จะมีสภาพบังคับเหนือพื้นที่หนองหารเช่นเดียวกัน
ดังนั้นการวิจัยเสนอแนะแนวแก้ไขปัญหาการทับซ้อนของกฎหมายและอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานโดยการจัดทำเป็นกฎหมายเฉพาะพื้นที่หนองหารเพื่อให้การดำเนินงานโดยองค์กรที่มีเอกภาพ และมีหน้าที่ประสานงานระหว่างหน่วยงานกับประชาชนจึงควรให้มีการทำการวิจัยในเรื่อง “กฎหมายหนองหาร” ขึ้นมาโดยเฉพาะเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนในครั้งถัดไป
คำสำคัญ
กฎหมาย/ การทับซ้อน/ ทะเลสาบหนองหาร
หน้า: 77-96
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 5 ม.ค. 2566
View: 216
Download: 54
กำลังออนไลน์: 5
วันนี้: 140
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 2,995
ปีนี้: 35,202
จำนวนเข้าชม: 117,014
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th