บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวน และทำความเข้าใจวาทกรรมอีสานภายใต้บริบทอีสานร่วมสมัย โดยใช้กรอบคิดของพัฒนา กิติอาษา ที่อธิบายอีสานในมิติใหม่ว่า อีสานใหม่ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมวัฒนธรรม ของโลกยุคโลกาภิวัตน์อย่างเต็มตัว อีสานใหม่ไม่ใช่อีสานด้อยพัฒนา อีสานใหม่ไม่ใช่ดินแดนชายขอบ ล้าหลัง หรือ แห้งแล้งทุรกันดาร อีกต่อไป ดังนั้นบทความนี้จึงยกปรากฏการณ์อีสานร่วมสมัยจากสื่อและวรรณกรรมต่าง ๆ ที่มีเนื้อหาและนัยของความเป็นอีสาน โดยใช้การศึกษาเอกสารและรวบรวมปรากฏการณ์ทางสังคมร่วมสมัย เพื่อนำมาเป็นตัวบททางวัฒนธรรมในการวิเคราะห์ ซึ่งพบว่า ความเป็นอีสานจากปรากฏการณ์ร่วมสมัย ได้แสดงให้เห็นถึงการผลิตซ้ำอีสานในภาพของความโรแมนติก แต่กระนั้นก็ยังมีสื่อและวรรณกรรมจำนวนหนึ่งที่ทำหน้าที่เปรียบเสมือนกระบอกเสียงที่คอยสื่อสารกับสังคมว่าอีสานไม่ได้หยุดนิ่ง แต่กลับมีพลวัตภายใต้บริบททางสังคมที่มีความหลากหลายนอกจากนี้พลังของอัตลักษณ์อีสานได้ขับเคลื่อนและเคลื่อนย้ายมวลชนสู่พื้นที่ต่าง ๆ จากการที่ทีมฟุตบอลตัวแทนภาคอีสานได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลในระดับสูงสุดของประเทศ
คำสำคัญ
อีสาน, อีสานร่วมสมัย, กลจักรของแรงปรารถนา
หน้า: 77-104
ประเภท: บทความวิชาการ
เผยแพร่: 1 ก.ค. 2561
View: 372
Download: 97
กำลังออนไลน์: 2
วันนี้: 40
เมื่อวานนี้: 127
เดือนนี้: 3,492
ปีนี้: 35,699
จำนวนเข้าชม: 117,511
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th