บทคัดย่อ
เมื่อกล่าวถึงความเชื่อในสังคมไทย สังคมไทยมีความเชื่อที่หลากหลายและมีพิธีกรรมประเพณีต่างๆมีรูปแบบและวิธีการปฏิบัติที่แตกต่างกันไป ความเชื่อส่วนใหญ่เกิด จากความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ เมื่อสิ่งที่เกิดขึ้นนั้นมีผลต่อวิถีชีวิตมนุษย์ ทั้งให้ คุณประโยชน์และให้โทษ แล้วมนุษย์ไม่สามารถค้นหาสาเหตุมาอธิบายได้ ทำให้เกิดความหวาดกลัวขึ้น และความเชื่อที่ปรากฏอยู่ในสังคมไทยจึงเป็นความเชื่อตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนา เป็นความเชื่อที่มุ่งเน้นพระรัตนตรัยหลักธรรมคำสอนทางพระพุทธศาสนา เชื่อเรื่องกรรม กฎแห่งกรรม ใครทำกรรมใดไว้ ผลกรรมนั้นจะตามสนอง อย่างไม่มีใครหลีกเลี่ยงได้ และยังมีความเชื่อว่าสัตว์โลกทั้งหลาย ย่อมเวียนว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร ซึ่งเป็นความเชื่อตามหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น รวมความเชื่อนั้นยังได้มีวิวัฒนาการตามลำดับขั้นอีกมากหลาย เช่น ความเชื่อในธรรมชาติ ความเชื่อระดับต่ำสุดของมนุษย์ คือความเชื่อในธรรมชาติ เพราะธรรมชาติเกิดอยู่ข้างเคียงกับมนุษย์ ความเชื่อในคติ ถือผีสาง เทวดา วิวัฒนาการแห่งความคิดของมนุษย์เกิดขึ้น ดังนั้น สังคมไทยมีความเชื่อดั้งเดิม โดย ลักษณะความเชื่อของคนในสังคมไทยมีการปรับเปลี่ยนไปจากความเชื่อดั้งเดิม ทั้งนี้ เพราะการได้ติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอก จึงทำให้ได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมอื่น ๆ จนทำให้สภาพสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับลักษณะคติความเชื่อในสังคมไทยโดยทั่วไป ความเชื่อเป็นสิ่งที่มนุษย์สร้างสรรค์ขึ้น เมื่อเกิดเป็นระบบขึ้นในสังคมมักเรียกว่า ศาสนา มีบทบาทสำคัญในการเชื่องโยงสถาบันต่าง ๆ ทั้งใน ด้านการเมือง การปกครอง เศรษฐกิจ และสังคมปัจจุบัน ซึ่งเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าความเชื่อต่างๆที่กล่าวมามีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตของคนในสังคมไทย (พระครูใบฎีกาหัสดี กิตตินฺนโท, ผศ.ดร.(๒๕๖๓)
ดังนั้น เพื่อให้ความเชื่อของมนุษย์เราเป็นความเชื่อที่ประกอบไปด้วยปัญญาที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรง เสริญผู้เขียนจึงขอนำแนวคิดเรื่องความเชื่อมากล่าวไว้เพิ่มเติมในบทความนี้
บรรณานุกรม
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย. คณาจารย์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2553).
ดนัย ไชยโยธา. (2538). ลัทธิศาสนาและระบบความเชื่อกับประเพณีนิยมในท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2543).พุทธศาสนาในความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ส า นั ก พิ ม พ์ มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตโต). (2545).เชื่อกรรมรู้กรรมแก้กรรม. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก จำกัด.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539).พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกายมูล ปัณณาสก์เล่มที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
วิรัช วิรัชนิภาวรรณ และนิภาวรรณ วิรัชนิภาวรรณ. (2533).การเข้าทรงและร่างทรง. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
อมรรัตน์ จันทร์เพ็ญสว่าง. (2537).จิตวิทยาศาสนาและความเชื่อและความจริง. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์กองทุนบี.ทราเวน. ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
พระครูใบฎีกาหัสดี กิตตินฺนโท, ผศ.ดร.(2563).วิถีแห่งความเชื่อของชาวพุทธในสังคมไทย.มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตนครราชสีมา
กำลังออนไลน์: 7
วันนี้: 143
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 2,998
ปีนี้: 35,205
จำนวนเข้าชม: 117,017
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th