บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเรียนการสอนโดยการแสดงบทบาทสมมติในรายวิชา กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ในการทำวิจัยในครั้งนี้ทำการสำรวจประชากรจากนักศึกษาสาขาวิชานิติศาสตร์ รายวิชากฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ปีการศึกษา 2559 จำนวน 46 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบบันทึกการเข้าเรียนของนักศึกษา แบบบันทึกการแสดงบทบาทสมมุติลงในแผ่นซีดี และแบบบันทึกพฤติกรรมการเรียนของนักศึกษา หลังจากนั้นได้ท าการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาค่าทางสถิติ ได้แก่ค่าคะแนนเฉลี่ยและค่าความถี่ ผู้วิจัยได้สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียนตลอดทั้งเทอม พบว่านักศึกษามีความตั้งใจที่จะเรียนรู้ผ่าน
กระบวนการแสดงบทบาทสมมติ และพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในการสอบปลายภาคดีขึ้นมาก นักศึกษามีความเข้าใจมีการเรียนรู้ผ่านการแสดงบทบาทสมมติซึ่งจะท าให้เห็นภาพเกี่ยวกับกระบวนการคุ้มครองผู้บริโภคได้ชัดเจนขึ้น ตลอดจนทำให้นักศึกษาได้เกิดความกล้าที่จะแสดงออกในห้องเรียนมากขึ้นและให้จัดการบันทึกการแสดงบทบาทสมมุติลงในแผ่นซีดีโดยพบว่าผลการเรียนอยู่ในเกณฑ์ดีมาก มีนักศึกษาที่ลงทะเบียนเรียนทั้งหมด 46 คน ได้คะแนนสูงสุดที่ 92 คะแนน และได้เกรด A จำนวน 44 คน คิดเป็น 95.65
คำสำคัญ
การแสดงบทบาทสมมติ กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาบรรณานุกรม
ตรรกพร สุขเกษม. (2554). การพัฒนาพฤติกรรมการกล้าแสดงออก โดยใช้วิธีการแสดง บทบาทสมมติ ของนักศึกษาระดับชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2/2554 ในบทเรียนเรื่อง การกำหนดนโยบายสาธารณะ. รายงาน
วิจัยในชั้นเรียน. มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
ประภาดา ตลึงจิตร. (2557). การสอนทักษะการตรวจสอบบัญชี โดยใช้การแสดงบทบาทสมมติ. รายงานวิจัยในชั้นเรียน. มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์.
สุชาดา ทิพย์มนตรี (2556). ประสิทธิผลของการใช้การแสดงบทบาทสมมติในการสอน “ภาษาอังกฤษเพื่อการบริการ”,รายงานวิจัยเดี่ยว. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
กำลังออนไลน์: 6
วันนี้: 112
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 2,967
ปีนี้: 35,174
จำนวนเข้าชม: 116,986
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th