...
การพัฒนาศักยภาพกลุ่มโฮมสเตย์บ้านสีกาย ตำบลสีกาย อำเภอเมืองหนองคาย จังหวัดหนองคาย
ผู้แต่ง
นิตย์รดี แทนไธสง และ พิมพ์พร ภูครองเพชร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารจัดการกลุ่ม และศึกษาปัญหาและความต้องการของกลุ่มโฮมสเตย์บ้านสีกาย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ศึกษากลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ เจ้าหน้าที่ ผู้นำชุมชน ประธาน กรรมการ และผู้เข้าใช้บริการ รวมจำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใชในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และการสนทนากลุม การวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) โดยดำเนินการจัดกระทำการตรวจสอบข้อมูลตลอดเวลาที่ทำการวิจัย รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลหลังเสร็จสิ้นการเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม จะนำข้อมูลที่ได้มาจัดประเภทของข้อมูล เขียนสรุปรายละเอียดและแยกแต่ละประเด็นตามวัตถุประสงค์การวิจัย

      ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มโฮมสเตย์บ้านสีกายได้รวมตัวกันจากกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มออมทรัพย์ และกลุ่มอาชีพภายในชุมชน กลุ่มได้เริ่มก่อตั้งจากการที่สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดหนองคายลงพื้นที่สำรวจกับชาวบ้านเพื่อจัดหากลุ่มในการทำบ้านพักรองรับนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาชมเทศกาลออกพรรษาเบิ่งบั้งไฟพญานาค กลุ่มได้ดำเนินงานตั้งแต่นั้นมาจนประสบความสำเร็จกับการทำบ้านพักโฮมสเตย์ ปัจจุบันมีสมาชิกกลุ่มทั้งหมด 22 คน มีหุ้นและสวัสดิการให้กับสมาชิก มีกลุ่มสัมมาชีพที่ทำร่วมกับโฮมสเตย์ทั้งหมด 10 กลุ่ม และมีเงินสนับสนุนจากหน่วยงานราชการเป็นประจำทุกปี ประการที่สอง ปัญหาของกลุ่มเป็นเรื่องของการทำการตลาดออนไลน์ ซึ่งมีเหตุผลมาจากการที่สมาชิกกลุ่มส่วนมากเป็นผู้สูงอายุและขาดความเข้าใจกับการใช้เทคโนโลยี ทางกลุ่มจึงมีความต้องการที่จะทำการตลาดออนไลน์เพื่อที่จะสามารถสื่อสารกับนักท่องเที่ยว ได้ตามความต้องการของผู้ที่สนใจเข้าพักโฮมสเตย์

คำสำคัญ

การพัฒนาศักยภาพ, กลุ่มโฮมสเตย์, การบริหารจัดการกลุ่ม

บรรณานุกรม

นินุสรา มินทราศักดิ์ และคณะ. (2563). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มผู้ผลิตโกปี๊เบตงแบบมีส่วนร่วม. งานประชุมวิชาการการพัฒนาชุมชน ท้องถิ่นและสังคมระดับชาติ ครั้งที่ 19 (CSD สัมพันธ์) เรื่อง “นวัตกรรมการพัฒนาสู่ความยั่งยืน”, 15-24. เรียกใช้เมื่อ 2567 เมษายน 4

โนร์อัสมัส เจ๊ะมามะ. (2564). มาตรการทางกฎหมายในการควบคุมธุรกิจโฮมสเตย์เพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต สาขากฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม คณะนิติศาสตร์, 1. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://

พิมพ์กมล แก้วไทรนันท์และคณะ. (2564). ความสําเร็จในการประกอบธุรกิจไร่สับปะรดของเกษตรกร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://so05.tci-thaijo.org/

ฟารีดา หมัดเหล็ม. (2556). มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการประกอบการโฮมสเตย์. วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์, 6. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://www.car.chula.ac.th/display7.php?bib=b1987718

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2545). รายงานการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ: ความอยู่ดีมีสุขของคนไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. เข้าถึงได้จาก https://www.nesdc.go.th/images/content/book33-45.pdf

สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่. (14 มิถุนายน 2564). สัมมาชีพชุมชน. เรียกใช้เมื่อ 24 ธันวาคม 2566 จาก สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดกระบี่: https://krabi.cdd.go.th/

สำนักพัฒนาบริการท่องเที่ยว. (2558). มาตรฐานโฮมสเตย์ไทย. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://thaits.avalue.co.th/services/uploads/standard/document/files_

สุรเดช วรรณศิริ. (2559). หลักการบริหารจัดการกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ. เรียกใช้เมื่อ 26 ตุลาคม 2566 จาก https://kmcddccs.blogspot.com/2016/03/blog-post.html


หน้า: 37-60

ประเภท: บทความวิจัย

เผยแพร่: 25 มิ.ย. 2567

View: 111

Download: 27

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เท่านั้น
ภาษา
ค้นหา
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 61

เมื่อวานนี้: 163

เดือนนี้: 2,916

ปีนี้: 35,123

จำนวนเข้าชม: 116,935


สำนักงานวารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี

โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th