บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง แนวทางการติดตามและประเมินผลแผนงานและโครงการ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัญหาและหาแนวทางการติดตามประเมินผลแผนงานและโครงการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 โดยใช้แบบสอบถามเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการ จำนวน 50 คน สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า โดยสรุปภาพรวมปัญหาการติดตามประเมินผลแผนงานและโครงการ ทั้ง 3 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนเริ่มดำเนินโครงการ ระยะระหว่างดำเนินโครงการ และระยะหลังสิ้นสุดดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก (x̄=3.92, S.D.=0.69) เมื่อพิจารณาในแต่ละระยะเป็นรายข้อ พบว่า ก่อนเริ่มโครงการมีปัญหามากที่สุด คือ ความรู้ความสามารถของผู้ติดตามและประเมินผล ระหว่างดำเนินโครงการ คือ การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของโครงการกับงบประมาณที่ใช้ไป และหลังสิ้นสุดโครงการ คือ การนำข้อเสนอแนะจากการติดตามประเมินผลไปวางแผนการดำเนินงานต่อไป โดยมีทัศนะเห็นด้วยในภาพรวมของแนวทางการติดตามและประเมินผลแผนงานและโครงการ ทั้ง 6 ขั้นตอนในระดับมากที่สุด (x̄=4.55, S.D.=0.50) พิจารณาแต่ละขั้นตอนเป็นรายข้อ พบว่า ขั้นตอนที่ 1 ศึกษากรอบแนวคิดโครงการที่จะประเมินผล คือ ควรประชุมหารือและศึกษาข้อมูลทุติยภูมิ ขั้นตอนที่ 2 การกำหนดวัตถุประสงค์ขอบเขตการประเมินผล คือ ควรประชุมกลุ่มย่อยผู้เกี่ยวข้อง เพื่อกำหนดวัตถุประสงค์และขอบเขตการประเมิน ขั้นตอนที่ 3 การกำหนดประเด็นการประเมินผล และการลงพื้นที่เก็บข้อมูล คือ ควรพิจารณาเป้าหมายให้สอดคล้องกับนโยบาย ยุทธศาสตร์ ผลผลิตและผลลัพธ์โครงการ ขั้นตอนที่ 4 สรุปปัญหาอุปสรรคและข้อค้นพบ คือ ควรประชุมระดมความคิดเห็นคณะทำงานประเมินผล เกี่ยวกับปัญหาอุปสรรคและข้อค้นพบในแต่ละส่วน ขั้นตอนที่ 5 ประมวลผลแนวทางการดำเนินงาน คือ ควรประชุมระดมความคิดเห็นด้านประสิทธิภาพโครงการ (ผลผลิต) ประสิทธิผลการดำเนินโครงการ (ผลลัพธ์) และข้อสรุปโครงการให้ครบถ้วน และขั้นตอนที่ 6 การเขียนรายงาน คือ ควรปรับปรุงแบบฟอร์มการรายงานให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และควรมีระบบสารสนเทศรองรับการจัดการทำรายงาน
คำสำคัญ
แผนงาน, โครงการ, การติดตามประเมินผลบรรณานุกรม
กองนโยบายและแผน (2561). เอกสารประกอบการประชุม เรื่องการถ่ายทอดและจัดทำแผนปฏิบัติราชการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
กระทรวงยุติธรรม. (ม.ป.ป.). ความรู้เกี่ยวกับการติดตามประเมินผล [ออนไลน์]. สืบค้นจาก:
https://km.moj.go.th.info/doc/8f34abea27d5e3cd279a7e8bcb3e4bb.doc (สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2563).
ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2541). การวิจัยประเมินผล: หลักการและกระบวนการ. กรุงเทพฯ: คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พิสณุ ฟองศรี. (2551). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพฯ: ด่านสุทธา.
ยุทธนา พรหมมณี. (ม.ป.ป.) การติดตามและการควบคุม (Monitoring and Control). [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://pncc.ac.th/pncc/word/s4.ppt (สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2563).
สุชาติ ประสิทธิ์รัฐสินธุ์. (2547). การวิจัยและประเมินผลโครงการ. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุภาพร พิศาลบุตร. (2547). การวางแผนและการบริหารโครงการ. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (ม.ป.ป.). การติดตามและประเมินผล [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://www.opsmoac.go.th/km-km (สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2563).
สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา. (2545). ชุดวิชาการเพื่อพัฒนาสำหรับงานสภาสถาบันราชภัฏ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ สำนักมาตรฐานอุดมศึกษา ทบวงมหาวิทยาลัย.
หทัยรัตน์ ลิ่มอรุณวงศ์. (ม.ป.ป.). การติดตามและประเมินผล [ออนไลน์]. สืบค้นจาก:
https://tsumis.tsu.ac.th/tsukm (สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2563).
อัญชลี ธรรมะวีรกุล. (2552). การประเมินโครงการ [ออนไลน์]. สืบค้นจาก: https://panchalee.wordpress.com/2009/04/28/project-evaluation1/ (สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2563).
กำลังออนไลน์: 10
วันนี้: 51
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 2,906
ปีนี้: 35,113
จำนวนเข้าชม: 116,925
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th