บทคัดย่อ
ในปัจจุบันเครื่องดนตรีอีสานได้ถูกนำมาใช้ในการผลิตผลงานทางดนตรี อย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นในบทบาท การบันทึกเสียง การบรรเลงต่อหน้าสาธารณชน และมีการนำมาใช้ในการบรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีตะวันตกอย่างแพร่หลาย จึงเป็น เหตุผลให้พิณอีกสาน ถูกพัฒนาเพิ่มเติมมากจากสมัยก่อน ผู้ผลิตและพัฒนาพิณจึงได้มีความริเริ่มผลิตพิณให้มีความทันสมัย ทั้งในเรื่อของวัสดุ รูปร่าง คุณภาพของเสียง และอายุการใช้งานของเครื่องดนตรี ทำให้พิณสามารถใช้บรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีตะวันตกได้อย่างกว้างมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในผู้ผลิตและพัฒนาพิณอีสานที่มีชื่อเสียงอีกบุคลหนึ่งในภาคอีสานได้แก่ ของ ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีพื้นบ้านอีสาน) ซึ่งมีการใช้ ส่วนประกอบของกีตาร์ไฟฟ้า นำมาใช้เป็นส่วนส่วนประกอบของพิณ เช่น หย่อง นัท(Nut) ลูกบิด เฟรทกีตาร์(Fret) และภาควงจรไฟฟ้าของกีตาร์ไฟฟ้า และมีการ ติดขั้นเสียงตามเครื่องตั้งเสียงดนตรีสากล (Tuner) โดยตั้งค่าความถี่ตัวโน้ตที่เป็นหลักเครื่องดนตรีสากลปัจจุบัน คือค่า 440Hz ทำให้พิณสามารถแบบปรับคีย์ตามเครื่องดนตรี อื่นๆได้โดยไม่ผิดเพี้ยน ส่งผลให้พิณมีเสียงที่คมชัดไพเราะมากขึ้น ตามหลักดนตรีสากล ทำให้พิณสามารถใช้บรรเลงร่วมกับเครื่องดนตรีตะวันตกได้อย่างกว้างมากขึ้น โดยบทความนี้มีจุดประสงค์คือ เพื่อศึกษา ความเป็นมาของพิณอีสาน ลักษณะทางกายภาพ และขั้นตอนการผลิตพิณแบบดั้งเดิม รวมไปถึงการพัฒนาและผลิตพิณในปัจจุบัน ซึ่งมีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลและศึกษาตำรา เอกสาร งานวิจัยรวมไปถึงบทความวิชาการ
คำสำคัญ
พิณอีสาน , การพัฒนาพิณ , การผลิตพิณบรรณานุกรม
จักรายุทธ นพราลัย. (2544). การจัดกิจกรรมนอกเวลาดนตรีพื้นบ้านอีสาน ในโรงเรียนสังกัด
กรมสามัญศึกษา เขตการศึกษา10. นครปฐม: สาขาวิชาดนตรี บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล.
ธงชัย จันเต (2553) การศึกษาลายพิณในวัฒนธรรมดนตรีอีสานกรณีศึกษาจังหวัด
อุบลราชธานี. วารสารศิลปกรรมบูรพา มหาวิทยาลัยบูรพา, 13(1), 204-
215.
ปริญญา ปัญญานันท์. (2556). แผนธุรกิจ มีภูมิ พิณอีสาน. สาชาวิชาสังคีตวิจัย
และ พัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร, กรุงเทพฯ.
ปิยพันธ์ แสนทวีสุข (2546) การอนุรักษ์พัฒนาและเผยแพร่ดนตรีและศิลปะการแสดง
พื้นบ้านอีสานเชิงธุรกิจ. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัย
สารคาม, 22(1), 67-76
วิโรจน์ เอี่ยมสุข. 2527. “แนวทางการสืบทอดดนตรีพื้นบ้าน,”ใน สมบัติอีสาน ครั้งที่ 3. บุรี
รมย์ : วิทยาลัยครูบุรีรัมย์
วีรพันธุ์ ธงตะกบ. (2548). รายงานผลการวิจัย การศึกษาประวัติและเทคนิคการผลิตเครื่อง
ดนตรีอีสาน. วารสารช่อพะยอม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม , 16(1)
27-58
สนอง คลังพระศรี. (2541). หมอลำซิ่ง:กระบวนการปรับเปลี่ยนทางวัฒนธรรมดนตรีของ
หมอลำในภาคอีสานนครปฐม : สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยมหิดล.
สัญญา สมประสงค์ (2555). การศึกษาการทำเครื่องดนตรีพื้นบ้านอีสาน : กรณีศึกษา หมูบ้าน
ท่าเรือ ตำบลท่าเรือ อำเภอนาหว้า จังหวัดนครพนม. สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ : กรุงเทพฯ
สุรศักดิ์ พิมพ์เสน. (2532). การทำแคน : ศึกษาเฉพาะกรณีบ้านสีแก้ว ตำบลสีแก้ว อำเภอ
เมืองจังหวัดร้อยเอ็ด. ปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัย
ศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ .
ภราดร ทรงวิชา,พงษ์ศักดิ์ ฐานสินพลและ ยงยศ วงศ์แพงสอน. (2563). การผลิตและพัฒนา
พิณอีสาน ของ นายประกาศิต แสนปากดี ในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัด
สกลนคร, วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(76), 10-
17. เข้าถึงได้จาก https://so02.tci-
thaijo.org/index.php/SNGSJ/article/view/223704/164001
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น./(มปป.)./ทรงศักดิ์ ประทุมสินธุ์, ดนตรีพื้นบ้าน
โหวด./ ศิลปินมรดกอีสานปี 2550 : สาขาศิลปะการแสดงปี 2550 /ศิลปิน
มรดกอีสาน./เข้าถึงได้จากhttps://cac.kku.ac.th/cac2021, 18 เมษายน
2566.
กำลังออนไลน์: 5
วันนี้: 60
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 2,915
ปีนี้: 35,122
จำนวนเข้าชม: 116,934
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th