...
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นไทยในสังคมปัจจุบัน กรณีศึกษาศีล 5 กับวัยรุ่น
ผู้แต่ง
วรังกูร ขาวขันธ์

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่องปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของวัยรุ่นไทยในสังคมปัจจุบันกรณีศึกษาศีล 5 กับวัยรุ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมของวัยรุ่นไทยในสังคมปัจจุบัน 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านในของวัยรุ่นกับศีล5 เพี่อศึกษาพฤติกรรมของวัยรุ่นไทยในสังคมปัจจุบันและเพื่อเพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงด้านในของวัยรุ่นกับศีล 5 นั้นเป็นงานวิจัยแบบเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้ศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นฐานสำหรับการทำวิจัย  ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

             1. ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่นที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาจริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิตประจำปีการศึกษา 2563/ภาคเรียนที่ 2 จำนวน  200 คน 2. กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ กลุ่มวัยรุ่นที่เป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร  ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาจริยธรรมเพื่อการดำเนินชีวิต ประจำปีการศึกษา 2563/ภาคเรียนที่ 2 จำนวน 200 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของ ยามาเน่ (Yamane)  การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล ดังนี้ 1. ใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากการเรียนการสอนในห้องเรียน  2. ดำเนินการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง ดังนี้ 2.1 นำแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงศีล 5 และแบบสอบถามการปฏิบัติตนของวัยรุ่น  ไปเก็บรวบรวมข้อมูลกับนักศึกษาที่คัดเลือกเป็นกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 200 คน โดยผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเองได้แบบสอบถามฉบับที่สมบูรณ์ จำนวน 200 ฉบับ และนำข้อมูลจากแบบสอบถามนั้นมาวิเคราะห์ทางสถิติต่อไป  ครื่องมือในการวิจัย การศึกษาวิจัยในครั้งนี้มีรูปแบบวิธีการวิจัยผสมผสานทั้งการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการวิจัยประกอบด้วย 1. แบบสอบถาม (Queationaires) จัดทำขึ้นเพื่อสำรวจความคิดเห็นของกลุ่มประชากรตัวอย่าง คือ นักศึกษา จำนวน 200 คน  . แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (Indept-Interview) มุ่งเน้นการสัมภาษณ์เชิงลึก และใช้กระบวนการกิจกรรมกลุ่ม การเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ได้ข้อมูลตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผู้วิจัยได้แบ่งข้อมูลออกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การเก็บข้อมูลทางด้านเอกสาร ระยะที่ 2 การทำกิจกรรมกลุ่ม ระยะที่ 3 จัดพิมพ์รายงานวิจัยเพื่อนำเสนออาจารย์ที่ปรึกษา เพื่อพัฒนาและปรับปรุงรายงานวิจัย ระยะที่ 4 สรุปองค์ความรู้และจัดพิมพ์รายงานการวิจัย

          ผลการวิจัยพบว่า พฤติกรรมวัยรุ่นไทย และปัจจัยที่ส่งผลต่อการพระพฤติตนในสังคมปัจจุบันกับศีล 5  กรณีศึกษานักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับปานกลางค่าเฉลี่ยที่ 2.86 จำแนกรายด้าน 1) เว้นจากการฆ่าสัตว์ อยู่ในระดับน้อย 1. 66 เหตุผลโดยสรุปต้องทำมาหากินจึงเกิดการฆ่าสัตว์เพื่อความอยู่รอด และมีความเข้าใจถึงการฆ่ามนุษย์ด้วย 2) เว้นจากการลักขโมยทรัพย์สินของผู้อื่น โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก 3.85 เหตุผลโดยสรุปบางครั้งแอบขโมยสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ เช่น มะละกอ ผัก ผลไม้ ซึ่งกระทำโดยมิได้ตั้งใจ ไม่มีผลการขโมยสิ่งของมีค่า  3) เว้นจากการประพฤติผิดในกาม อยูในระดับดีมาก 3.97 เหตุผลเพราะสังคม ครอบครัวมีการสั่งสอนและห้ามมีพฤติกรรมที่ไม่ดี  4) ห้ามพูดเท็จ อยู่ในระดับปานกลาง 2.68 เหตุผลเพราะบางครั้งคิดว่าการโกหก หรือพูดเท็จแค่เพียงเล็กน้อยอาจจะไม่ส่งผลเสียต่อเพื่อนมนุษย์มาก 5) เว้นจากการดื่มสุราและของมึนเมา อยู่ในระดับน้อย 1.23 เหตุผลวัยรุ่นที่อยู่ในช่วงกำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรีส่วนมากจะมีเพื่อนเยอะและมีการชวนเที่ยวเล่นตามช่วงอายุของวัยรุ่น จึงมีการดื่มแอลกอฮอล์  

คำสำคัญ

ศีล ๕, พฤติกรรมของวัยรุ่น

บรรณานุกรม

พระธรรมปิฎก (ปอ.ปยุตโต), (2536).  พุทธธรรมฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่6,(กรุงเทพฯ:
          โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาปัญญา ชยปญฺโญ ( ดาบพลหาร ). (2536), กาเมสุมิจฉาจารกับปัญหาจริยธรรมในสังคมไทย
          ปัจจุบัน
, วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราช
          วิทยาลัย.

พระมหาพิชิตชัย ยมพาลไพ่. (2542), การศึกษาทัศนะเรื่องศีล 5 ของชาวพุทธไทยปัจจุบัน ศึกษาเฉพาะ
          กรณีการฆ่าสัตย์
, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต,(บัณฑิตวิทยาลัย:มหาวิทยาลัยมหิดล.       

พระมหาสำรวย ญาณสวโร (พินดอน). (2542), การศึกษาเรื่องผลกระทบจากการล่วงละเมิดศีล ข้อที่ 5 ที่มี
          ต่อสังคมไทยวิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต
,(บัณฑิตวิทยาลัย:,มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ
          ราชวิทยาลัย.

พระมหาภาษิต สุขวรรณนดี (สุภาษิโต). (2547), การรักษาศีล 5 ของนักศึกษาภาคสมทบ มหามกุฏราช
          วิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์,งานวิจัยอิสระ,(
สถาบันวิจัยญาณสังวร;
          มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาภาษิต สุขวรรณนดี (สุภาษิโต). (2547), การรักษาศีล 5 ของนักศึกษาภาคสมทบ มหามกุฏราช
          วิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์
,งานวิจัยอิสระ,(สถาบันวิจัยญาณสังวร;
          มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระอุบล กตปุญฺโญ ( แก้ววงล้อม). (2537), การศึกษาวิเคราะห์คุณค่าของศีลธรรมที่มีต่อสังคมไทย,
          วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร์มหาบัณฑิต,(บัณฑิตวิทยาลัย;มหาจุฬางกรณราชวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ. (2539), ทาน ศีล ภาวนา. กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ, หน้า 56-57.

วัฒนา มูลเมืองแสน. (2553), แนวคิดทางพระพุทธศาสนาเกี่ยวกับศีล 5 ข้อกาเมสุมิฉาจารเพื่อการ
          แก้ปัญหาการกระทำผิดทางเพศในสังคมปัจจุบัน
.กรุงเทพมหานคร:บริษัท 21 เซ็นจูรี่ จำกัด.

ส.ศิวรักษ์,คันฉ่องส่องจริยศาสาตร์. (2550), บทวิจารณ์ว่าด้วยธรรมะและอธรรมในสงคมไทย :
          กรุงเทพมหานครสำนักพิมพ์ศึกสยาม.

สุมาลี มหลงชัย( ศีลปาโล). (2548), ศีล 5 ฉบับคู่มือรักษาใจ.กรุงเทพมหานคร.

เรียม ศรีทอง,รศ.ดร, (2542), พฤติกรรมมนุษย์กับกำรพัฒนำตน, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทเธิร์ดเวฟ     
          เอ็น ดูเคชั่น จำกัด. หน้า 5.

 

สงวน สุทธิเลิศอรุณ, รศ. (2543), พฤติกรรมมนุษย์กับกำรพัฒนำตน, (กรุงเทพมหานคร: อักษราพิพัฒน์.  
          หน้า 145-146.

พระชัชวาล ศรีสุข. (2541), “ศาสนากับการพัฒนาบุคลิกภาพ : ศึกษาเปรียบเทียบหลักคำสอนเกี่ยวกับการ

          พัฒนาบุคลิกภาพในพุทธศาสนาและศาสนาคริสต์”, วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิต
          วิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.

เสกสันต์ ศิริวรรณ. (2553),  “ความศรัทธาในศีล 5 ที่มีต่อการปฏิบัติตนของวัยรุ่น”, วิทยานิพนธ์การศึกษา
          มหาบัณฑิต, บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

อาภากร ปัญโญและคณะ. (2556), “การพัฒนาข้อกำหนดการอยู่ร่วมกันของชุมชนศีล 5 ของบ้านพระบาท
          ห้วยต้ม หมู่ที่ 8 และบ้านชัยวงษา หมู่ที่ 22 ตำบลนาทราย อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน ระยะที่ 1
”,
          รายงานวิจัย, สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

พระมหาภาษิต สุขวรรณดี (สุภาสิโต). (2547), “การรักษาศีล 5 ของนักศึกษาภาคสมทบ มหาวิทยาลัย

มหามกุฎราชวิทยาลัย วิทยาเขตสิรินธรราชวิทยาลัย ในพระราชูปถัมภ์ พ.ศ. 2547”, วิทยานิพนธ์ศาสน ศาสตรมหาบัณฑิต, (บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย), บทคัดย่อ.

 


หน้า: 15-42

ประเภท: บทความวิจัย

เผยแพร่: 25 ธ.ค. 2567

View: 107

Download: 45

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เท่านั้น
ภาษา
ค้นหา
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 5

วันนี้: 126

เมื่อวานนี้: 372

เดือนนี้: 5,980

ปีนี้: 17,221

จำนวนเข้าชม: 140,329


สำนักงานวารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี

โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th