บทคัดย่อ
การศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่นจากความทรงจำของชุมชนบ้านนาบัว ตำบลโคกหินแฮ่ อำเภอเรณูนคร จังหวัดนครพนม (ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๕๕๑) เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชนบ้านนาบัวใน ๓ ช่วงเวลาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๖๙-๒๕๕๑ คือ คือ ๑) ยุคการบุกเบิกที่ดินและการก่อตั้งหมู่บ้าน ๒) ยุคการต่อสู้ทางการเมืองและวันเสียงปืนแตก และ ๓) ยุคหลังวันเสียงปืนดับและการจัดการประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของชุมชน โดยใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและแบบไม่มีส่วนร่วม และแบบบันทึกเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลผลการศึกษาพบว่า ชุมชนบ้านนาบัว ได้มีการต่อสู้และปรับตัวเพื่อธำรงรักษาอัตลักษณ์และยกระดับชีวิตความเป็นอยู่ของตนเองมาโดยตลอด เริ่มจากการต่อสู้กับความยากลำบากในการบุกเบิกที่ดินทำกินและทำการผลิต มาสู่การต่อสู้กับความไม่เป็นธรรมจากรัฐบาลจนกลายเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สร้างบาดแผลให้กับชุมชน จนเมื่อเหตุการณ์สงบลงชาวบ้านยังต้องออกมาสู้กับความเข้าใจผิดของสังคมภายนอกที่มองเข้ามาในหมู่บ้านอย่างมีอคติ ว่าแท้จริงแล้วพวกเขาเป็นเพียงชุมชนชาวนาที่รักความสงบ ยึดมั่นในชาติ ศาสนา มหากษัตริย์และปรารถนาจะเห็นสังคมที่เป็นธรรมไม่ต่างจากคนไทยพื้นที่อื่น ๆ ผลลัพธ์ของการต่อสู้นี้นำมาสู่การฟื้นคืนประวัติศาสตร์ของหมู่บ้านผ่านการจัดงานรำลึกและการก่อตั้งศูนย์การเรียนรู้ของชุมชน ทั้งในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์และแหล่งเรียนรู้อื่น ๆ
คำสำคัญ
ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น, บ้านนาบัว, นครพนม, ความทรงจำของชุมชน
หน้า: 171-195
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ก.ค. 2561
View: 330
Download: 76
กำลังออนไลน์: 2
วันนี้: 0
เมื่อวานนี้: 288
เดือนนี้: 3,143
ปีนี้: 35,350
จำนวนเข้าชม: 117,162
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th