บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทชุมชนที่มีความหลากหลายทางชวีภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมของชุมชนผ้าย้อมครามอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ที่นำไปพัฒนาเป็นรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ที่เหมาะสม การศึกษา
วิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการอย่างมีส่วนร่วม (PAR) ใช้วิธีการสังเกตอย่างมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม การจัดเสวนากลุ่ม และการพูดคุยสัมภาษณ์แบบเจาะลึก โดยใช้แบบสอบถามอย่างไม่มีโครงสร้าง และเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญของแต่ละชุมชนเกี่ยวกับการทำผ้าย้อมครามและการ
ท่องเที่ยว จำนวน ๒๐ คน ในพื้นที่ ๔ หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านดอนกอย หนองครอง คำข่า และอูนดง ผลการวิจัยพบว่า บริบทชุมชนของอำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนครมีความหลากหลายทางชีวภาพและภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เหมาะสมหรับการท่องเที่ยว ได้แก่ สถานที่ท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ โบราณสถาน โบราณวัตถุ สถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและสถานที่ท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม ด้านรูปแบบการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ของชุมชนผ้าย้อมคราม อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร ประกอบด้วย ๒ รูปแบบ คือ ๑) รูปแบบการท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลภายใต้แนวคิดท่องเที่ยววิถีไทย...เก๋ไก๋อย่างยั่งยืน โดยมีเส้นทางการท่องเที่ยว ๑ เส้นทาง คือ “คนฮักคราม” ๒) รูปแบบการท่องเที่ยวตามประเด็นยุทธศาสตร์ด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวจังหวัดสกลนคร โดยกำหนดประเด็นของเมือง ๓ ธรรม ธรรมะ ธรรมชาติ และวัฒนธรรม โดยมีเส้นทางการท่องเที่ยว ๑ เส้นทาง คือ “ทาม ทุ่ง โคก ภู ดูคราม ตามธรรม” ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ทั้งสองรูปแบบเกิดขึ้นจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนนำไปสู่การยกระดับการเป็นชุมชนเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากการท่องเที่ยวที่กระจายรายได้ให้เกิดกับคนในชุมชนผ้าย้อมครามอย่างทั่วถึง
คำสำคัญ
ท่องเที่ยวชุมชน, ภูมิปัญญาผ้าย้อมคราม, ภูมินิเวศวัฒนธรรม
หน้า: 21-42
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ส.ค. 2561
View: 211
Download: 51
กำลังออนไลน์: 7
วันนี้: 214
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 3,069
ปีนี้: 35,276
จำนวนเข้าชม: 117,088
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th