บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ๑) พฤติกรรมและความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีต่อองค์ประกอบด้านโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยว ๒) ลักษณะทางประชากรศาสตร์ของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่แตกต่างกันมีผลต่อองค์ประกอบโลจิสติกส์
การท่องเที่ยว ๓) พฤติกรรมการเดินทางที่มีความสัมพันธ์กับองค์ประกอบโลจิสติกส์การท่องเที่ยว และ ๔) องค์ประกอบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวที่ส่งผลต่อความพึงพอใจในการท่องเที่ยว โดยใช้แบบสอบถามในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ นักท่องเที่ยว
ชาวต่างชาติ จำนวน ๔๐๐ ชุด และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ ความร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสถิติทดสอบที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยรายคู่โดยวิธีของเชฟเฟ่ และการหาความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
พบว่า ๑) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง ๒๕ - ๓๔ ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน ๑๐,๐๐๑ - ๑๗,๐๐๐บาท เป็นนักท่องเที่ยวจากทวีปยุโรป พฤติกรรมการเดินทางท่องเที่ยวส่วนใหญ่ท่องเที่ยวเป็น
ครั้งแรก เดินทางมาเที่ยวกับกลุ่มเพื่อน วัตถุประสงค์หลักของการท่องเที่ยว เพื่อความเพลิดเพลิน/พักผ่อนหย่อนใจ ใช้เวลาท่องเที่ยว ๒ - ๔ วัน มีการวางแผนการเดินทางด้วยตนเองใช้รถมอเตอร์ไซค์เป็นยาพาหนะ ค้นคว้าหาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต/โซเชียล มีเดีย เลือกพักอาศัย
ที่พักโฮเทล มีค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่ำกว่า ๕๐๐ เหรียญดอลลาร์สหรัฐ และจะเดินทางกลับมาเที่ยวอีกในอนาคต ๒) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจหลังการเดินทางอยู่ในระดับมาก โดยมีความคิดเห็นต่อองค์ประกอบด้านโลจิสติกส์เพื่อการท่องเที่ยวในเกาะเต่า เรียงจากมากไปน้อย ได้แก่ ระหว่างการเดินทาง เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยวด้านข้อมูลข่าวสารระหว่างการเดินทาง ด้านการจัดการการไหลเวียนทางด้านข้อมูลข่าวสารก่อนการเดินทาง ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านความปลอดภัย และด้านเวลา ตามลำดับ
๓) นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพแตกต่างกัน มีผลต่อความต้องการองค์ประกอบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในเกาะเต่าแตกต่างกัน ๔) องค์ประกอบโลจิสติกส์ก่อนการเดินทาง ระหว่างการเดินทางและหลังการเดินทาง มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรม
การเดินทางท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ๕) องค์ประกอบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในเกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ส่งผลต่อความพึงพอใจโดยรวมต่อการเดินทางท่องเที่ยวในทิศทางบวก เรียงตามระดับอิทธิพลจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านสิ่งดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ด้านข้อมูลข่าวสารระหว่าง
การเดินทาง ด้านการเงิน และด้านความปลอดภัย ตามลำดับ
คำสำคัญ
การจัดการโลจิสติกส์, การท่องเที่ยว, เกาะเต่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี
หน้า: 77-97
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ส.ค. 2561
View: 230
Download: 76
กำลังออนไลน์: 8
วันนี้: 218
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 3,073
ปีนี้: 35,280
จำนวนเข้าชม: 117,092
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th