บทคัดย่อ
บทความเรื่องวาทกรรมการเหยยีดผู้หญิงข้ามเพศในสังคมไทยที่สะท้อนผ่านละครชุด
Club Friday The Series 9 รักครั้งหนึ่ง ที่ไม่ถึงตาย ตอน รักปลอมปลอม มุ่งนำเสนอผลการ
วิเคราะห์วาทกรรมที่สะท้อนการหล่อหลอมและขัดเกลาของสถาบันต่าง ๆ ของสังคมภายใต้
การขับเคลื่อนของรัฐชาติที่จำแนกเพศแบบขั้วตรงข้ามชายและหญิงเพื่อจัดระเบียบทางสังคม
ผ่านประสบการณ์ของ หนุย ซึ่งเป็นเพศญิง บอกเล่าเรื่องราวระหว่างตนกับ ตอย ผู้หญิงข้ามเพศ
ซึ่งเป็นภาพตัวแทนของผู้หญิงข้ามเพศที่เป็นอื่น เป็นคนชายขอบ และน่าเกลียดชังของสังคม
ผลการศึกษาพบวาทกรรมที่สะท้อนให้เห็นการเหยียดผู้หญิงข้ามเพศในสังคมไทย
การยอมรับบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศเป็นเพียงมายาคติที่สังคมพยายามแสดงออกผ่าน
สื่อต่าง ๆ ถึงการเปิดกว้างและยอมรับ เนื่องจากบุคคลกลุ่มนี้ ได้รับการยอมรับจากเพียงสมาชิก
ในสังคมที่มีความหลากหลายทางเพศเช่นเดียวกัน เพราะสังคมส่วนใหญ่ยังคงถูกครอบงำด้วย
มายาคติเกี่ยวกับเพศภาวะและเพศวิถีที่เป็นกระแสหลักของสังคม การเหยียดเพศในสังคมไทย
จากความเชื่อดังกล่าวจึงนำมาซึ่งอคติและความไม่เท่าเทียมในสังคม
คำสำคัญ
วาทกรรม, การเหยียด, ผู้หญิงข้ามเพศ, ละครชุด
หน้า: 99-116
ประเภท: บทความวิชาการ
เผยแพร่: 1 ส.ค. 2561
View: 263
Download: 62
กำลังออนไลน์: 12
วันนี้: 206
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 3,061
ปีนี้: 35,268
จำนวนเข้าชม: 117,080
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th