บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์บูรณาการกับ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) สำหรับนักศึกษา
ฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
และเพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ที่ได้รับการสอน
จากกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้โปรแกรม
The Geometer’s Sketchpad (GSP) ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักศึกษาสาขาหลักสูตรและการสอน สาขาวิชา
คณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ได้ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู
ในสถานศึกษาในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนมและมุกดาหาร ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙
โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักศึกษาชั้นปีที่ ๔ สาขาหลักสูตรและการสอน
สาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ที่ได้ออกฝึกประสบการณ์
วิชาชีพครูในสถานศึกษา ในเขตพื้นที่จังหวัดสกลนคร นครพนมและมุกดาหาร ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ ที่ได้จากการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน ๔๐ คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ๑) แผนการจัดกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์บูรณาการกับ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad (GSP) ๒) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ ๓) แบบประเมินการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโครงงาน
คณิตศาสตร์บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
(GSP) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ
ทดสอบสมมติฐานโดยการทดสอบความแตกต่างโดยวิธีจับคู่ (Paired-Difference Test)สรุปผลการวิจัย ดังนี้
๑. การสร้างกิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้
โปรแกรม GSP ของนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สามารถทำโครงงานได้สำเร็จทุกกลุ่ม
จำนวน ๑๐ โครงงาน ได้แก่ ๑) โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่องรองเท้าลายสวยด้วยสมการพาราเมตริกซ์ ๒) โครงงานคณิตศาสตร์เรื่อง การออกแบบแม่พิมพ์ขนมดอกจอกด้วยโปรแกรม GSP
๓) โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง GSP สร้างสรรค์ภูมิปัญญาท้องถิ่นงานหัตถศิลป์หมอนสม๊อค
๔) โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่องปกสมุดสร้างสรรค์ด้วยไซคลอยด์สุดเก๋จากผ้าคราม โดยใช้
โปรแกรม GSP ๕) โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง GSP สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว
๖) โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง GSP สร้างคุณค่าร่วมสืบสานภูมิปัญญาศิลปาชีพกุดนาขาม
๗) โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่องการออกแบบลายผ้าคลุมไหล่โครเชต์จากโปรแกรม GSP
๘) โครงงานคณิตศาสตร์ เรื่อง GSP เพิ่มมูลค่าภูมิปัญญาเครื่องปั้นดินเผา ๙) โครงงาน
คณิตศาสตร์ เรื่อง สรรสร้างลายปักเคสโน้ตบุ๊กควบคู่ภูมิปัญญาท้องถิ่น และ ๑๐) โครงงาน
คณิตศาสตร์ เรื่อง GSP สร้างสรรค์มหัศจรรย์แห่งดวงดาว
๒. กิจกรรมโครงงานคณิตศาสตร์บูรณาการกับภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยใช้โปรแกรม
GSP ทำให้เกิดประสิทธิผลการเรียนรู้อยู่ในเกณฑ์ ร้อยละ ๔๐ เป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
คำสำคัญ
โครงงานคณิตศาสตร์, การสอนแบบบูรณาการ, โปรแกรม The Geometer’s Sketchpad
หน้า: 117-141
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ส.ค. 2561
View: 323
Download: 53
กำลังออนไลน์: 6
วันนี้: 236
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 3,091
ปีนี้: 35,298
จำนวนเข้าชม: 117,110
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th