บทคัดย่อ
งานวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ :
คณิตศาสตร์กับชุมชน ในหัวข้อการทอผ้า และเพื่อสร้างสูตรการประมาณค่าความยาวของฝ้าย
ที่ใช้ในการทอผ้า ๑ ผืน โดยใช้การประเมินสภาพจริงการเข้าร่วมกิจกรรมและเก็บรวบรวมข้อมูล
จากการทดลองปฏิบัติการทอผ้าไปสร้างสูตรในการทอประมาณการทอผ้า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน
การวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ : คณิตศาสตร์กับชุมชน ประจำปีการศึกษา ๒๕๕๙ โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน ๒๕ คน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้โดยดำเนินการทดลองในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๕๙ ของกิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ : คณิตศาสตร์กับชุมชนในหัวข้อการทอผ้า จำนวน ๑๐ สัปดาห์ สัปดาห์ละ ๖ ชั่วโมง รวม ๖๐ ชั่วโมง
ผลการศึกษาพบว่า ๑) นักเรียนทุกคนได้ฝึกปฏิบัติและสามารถอธิบายขั้นต่าง ๆ
เกี่ยวกับการทอผ้า และสร้างสูตรที่ใช้ในการคำนวณหาความยาวฝ้ายมี ๓ สูตร คือสูตรการหา
ความยาวเส้นยืน สูตรการหาความยาวเส้นพุ่ง และสูตรการคำนวณจำนวนไจฝ้ายที่ใช้ทอผ้า
(๑) สูตรการหาความยาวฝ้ายเส้นยืน (Y)
Y = 40N2W เมตร;
เมื่อ 40 มาจากจำนวนรูฟืม 1 หลบ
N คือ ระยะทางค้น
2 มาจาก ใน 1 รูฟืมต้องมีฝ้าย 2 เส้น
W คือ ขนาดของฟืม
(๒) สูตรการหาความยาวฝ้ายเส้นพุ่ง (X) ในการทอผ้า n เมตร
X = 1,700Pn เมตร;
เมื่อ 1,700 คือ ค่าเฉลี่ยที่ได้จากการสอดกระสวยในความยาวผ้า 1 เมตร
P คือ ความยาวหน้าฟืม (เมตร)
n คือ ความยาวผ้าที่ต้องการทอ
(๓) สูตรการจำนวนไจฝ้าย (Z) ที่ใช้ในการทอผ้า
Z = (Y+X) ไจ;
เมื่อ 950 คือ ความยาวเฉลี่ยของฝ้าย 1 ไจ
n คือ ความยาวผ้าที่ต้องการทอ
คำสำคัญ
ภูมิปัญญาทอผ้า, การประมาณค่าความยาว, การประยุกต์
หน้า: 143-170
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ส.ค. 2561
View: 255
Download: 45
กำลังออนไลน์: 2
วันนี้: 69
เมื่อวานนี้: 159
เดือนนี้: 3,394
ปีนี้: 35,601
จำนวนเข้าชม: 117,413
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th