บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้ทาง ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้าน
ปรัชญา ศาสนาและประเพณี บ้านโคกตาดทอง ตำบลค้อเขียว อำเภอวาริชภูมิ จังหวัด
สกลนคร โดยใช้กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน ผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ ผู้เชี่ยวชาญด้าน
องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นแต่ละประเภทของบ้านโคกตาดทองที่ชุมชนให้การยอมรับ
จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก
การจัดเวทีชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และนำมาสรุป เรียบเรียง
ตามประเด็นต่างๆ โดยการพรรณนา
ผลการวิจัย พบว่า องค์ความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นของบ้านโคกตาดทอง มี
จำนวนทั้งสิ้น 8 ด้าน ได้แก่ 1) องค์ความรู้ด้านศาสนา 2) องค์ความรู้ด้านวัฒนธรรม
ประเพณี 3) องค์ความรู้ด้านความเชื่อ 4) องค์ความรู้ด้านวิถีชีวิต 5) องค์ความรู้ด้าน
การเลี้ยงหม่อนไหม 6) องค์ความรู้ด้านการเลี้ยงโคนม 7) องค์ความรู้ด้านการทำขนม
และ 8) องค์ความรู้ด้านการเลี้ยงจิ้งหรีด
การมีส่วนร่วมในการจัดการองค์ความรู้ของชุมชนพบว่า มีส่วนร่วมในการ
จัดการโดย การกำหนดองค์ความรู้ การรวบรวมองค์ความรู้ การตรวจสอบองค์ความรู้
และการเผยแพร่องค์ความรู้ ส่วนปัญหาด้านการจัดการองค์ความรู้ของบ้านโคกตาด
ทอง คือ การถ่ายทอดองค์ความรู้ยังขึ้นอยู่กับความสนใจเป็นรายบุคคลและการ
ถ่ายทอดผ่านครัวเรือนยังไม่มีการจัดอบรมองค์ความรู้ให้กับลูกหลานหรือผู้สนใจทั่วไป
อย่างเป็นระบบ ในการกำหนดทิศทางของแต่ละกลุ่ม เพื่อเป็นการเผยแพร่องค์ความรู้
อย่างกว้างขวาง
คำสำคัญ
การจัดการองค์ความรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
หน้า: 183-199
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ก.พ. 2562
View: 198
Download: 33
กำลังออนไลน์: 9
วันนี้: 217
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 3,072
ปีนี้: 35,279
จำนวนเข้าชม: 117,091
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th