...
อัตลักษณ์ทางดนตรีของกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงในจังหวัดสกลนคร
ผู้แต่ง
วันนพร สิทธิสาร

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เก็บรวบรวมลายเพลงของนักดนตรีพื้นบ้านกลุ่ม
ชาติพันธุ์กะเลิง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร ๒) ศึกษารูปแบบการสืบทอดทางดนตรีของ
กลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง อำเภอกุดบาก จังหวัดสกลนคร โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยทางดนตรีชาติพันธุ์
ดำเนินการเก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลจากภาคสนาม และใช้
การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง (Semi-Structured Interviews) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key
Informants)
ผลการวิจัยพบว่า ๑) ลายเพลงของกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิงมี ๒ ประเภท คือ ลายเพลงที่
ใช้บรรเลงเพื่อความบันเทิง ประกอบด้วย ๔ ลายเพลง ได้แก่ ลายเต้ย ลายผู้ไท ลายลำเพลิน
ลายเซิ้ง และลายเพลงที่ใช้ในการประกอบพิธีกรรมการรักษาโรค ได้แก่ ลายผู้ไท และลายเลาะ
ตูบ (ลายเหยา) ๒) รูปแบบการสืบทอดทางดนตรีของนักดนตรีพื้นบ้านกลุ่มชาติพันธุ์กะเลิง
ประกอบด้วย ๒ รูปแบบ คือ ๑) การถ่ายทอดและสืบทอดด้วยมุขปาฐะ ซึ่งครูนักดนตรีจะท่อง
ทำนองเพลง และให้ฝึกบรรเลงทำนองเพลงด้วยตนเอง ส่วนมากจะถ่ายทอดให้กับลูกหลานและ
เครือญาติ ๒) การถ่ายทอดด้วยวิธีการเขียนโน้ตเพลงด้วยลายลักษณ์ ซึ่งครูดนตรีมักจะเขียนโน้ต
เพลงไทยให้กับลูกศิษย์แล้วให้ไปเรียนรู้เอง การถ่ายทอดมักจะถ่ายทอดให้กับคนนอกเครือญาติ
หรือผู้ที่สนใจที่ไม่ใช่ลูกหลาน

คำสำคัญ

วาทกรรม, การเหยียด, ผู้หญิงข้ามเพศ, ละครชุด


หน้า: 117-132

ประเภท: บทความวิจัย

เผยแพร่: 1 ส.ค. 2562

View: 403

Download: 49

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เท่านั้น
ภาษา
ค้นหา
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 187

เมื่อวานนี้: 163

เดือนนี้: 3,042

ปีนี้: 35,249

จำนวนเข้าชม: 117,061


สำนักงานวารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี

โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th