บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างกระบวนการพัฒนานักวิจัยชุมชน โดยใช้พื้นที่
ชุมชนต้นแบบเป็นห้องเรียน และเพื่อวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน ปัญหา ความต้องการของ
ชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ผู้วิจัยใช้การศึกษาโดยทำการศึกษาพื้นที่ต้นแบบทั้ง
พื้นที่ปฐมภูมิ คือ ชุมชนบ้านสระไม้แดง ตำ บลแพรกศรีราชา อำเภอสรรคบุรี จังหวัดชัยนาท
กลุ่มประชากรแบบเจาะจง ประกอบด้วยนักวิจัยชุมชน ๓๑ คน ผู้นำชุมชนประธานชุมชน ๑๕
คน ผู้บริหารโรงเรียน พระสงฆ์ กำนัน ผู้แทนท้องถิ่นเทศบาล ๑๑ คน และประชาชนรายครัว
เรือน ๒๐๙ คน เก็บข้อมูลด้วยการสนทนากลุ่ม การสังเกตแบบมีส่วนร่วม และการสัมภาษณ์
เชิงลึก และพื้นที่ทุติยภูมิ คือ ศึกษาจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาพบว่า การ
พัฒนาและส่งเสริมกระบวนการสามารถพัฒนานักวิจัยชุมชนได้ทั้งในระดับบุคคล และนักวิจัย
ของชุมชน โดยใช้พื้นที่ชุมชนต้นแบบเป็นห้องเรียน มี ๖ ขั้นตอน ประกอบด้วย ๑) ทำการสร้าง
ความเข้าใจและสถานการณ์ความจริง ๒) สร้างวิสัยทัศน์ สภาพที่คาดหวังในอนาคต ๓) การแสดงการพัฒนาหรือทางเลือก ๔) การเรียนรู้จากการปฏิบัติ ๕) การร่วมกันประมวลผล
ความคิดร่วมยอด ๖) การเผยแพร่สู่สาธารณะ จากทั้ง ๖ ขั้นตอนสามารถจัดกลุ่มออกเป็น ๓
กระบวนการ ดังนี้ ๑) แลกเปลี่ยนประสบการณ์ในพื้นที่และสิ่งที่เป็นปัญหาหรือต้องการ
๒) สิ่งที่ต้องการพัฒนาและทางเลือกในการแก้ปัญหา ๓) เกิดพลังร่วม ร่วมกันเสนอกิจกรรม
โครงการและพร้อมดำเนินการพัฒนา และผลจากวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชน ปัญหา ความ
ต้องการของชุมชน พบว่า ชุมชนบ้านสระไม้แดง มีศักยภาพด้านเชิงการใช้ประโยชน์จากพื้นที่
เกษตรกรรมการเพาะปลูกข้าว การเพาะปลูกพืชไร่ การประมง และการแปรรูปผลผลิตทางการ
เกษตรผ่านการรวมกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พร้อมทั้งความร่วมมือของคนในชุมชนต่อการพัฒนา
ชุมชน เกิดกระบวนการคิดและแก้ไขปัญหาของชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนเป็น
อย่างดี แต่อย่างไรก็ดียังพบปัญหาความต้องการของชุมชนคือ การบริหารจัดการน้ำสำหรับ
การเกษตรให้เพียงพอตลอดปี และการเข้าใช้พื้นที่ปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรของประชาชน
ผลจากการวิจัยนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ยังสามารถนำผลที่ได้จากการวิจัยไปเป็นข้อมูลในการ
กำหนดนโยบาย หรือการวางแผนการพัฒนาชุมชนตามบริบทของชุมชน
คำสำคัญ
นักวิจัยชุมชน, กระบวนการพัฒนานักวิจัยชุมชน, วิจัยชุมชนโดยใช้ชุมชนเป็น ห้องเรียน, วิเคราะห์ศักยภาพชุมชน
หน้า: 133-151
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ส.ค. 2562
View: 303
Download: 99
กำลังออนไลน์: 6
วันนี้: 186
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 3,041
ปีนี้: 35,248
จำนวนเข้าชม: 117,060
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th