...
ก่ำกาดำ: ความสัมพันธ์กับอรรถกถาชาดก ปัญญาสชาดก และชาดกในคัมภีร์มหาวัสตุ
ผู้แต่ง
สายป่าน ปุริวรรณชนะ

บทคัดย่อ

ก่ำกาดำเป็นวรรณกรรมนิทานเรื่องหนึ่งที่แพร่หลายในกลุ่มชาติพันธุ์ไทย-ไท โดยเฉพาะในล้านนา อีสาน และลาว ก่อนหน้านี้นิทานเรื่องนี้มักถูกพิจารณาแต่เพียงในฐานะ "นิทานแบบเรื่องสังข์ทอง" รูปแบบหนึ่งเท่านั้น ทว่าในบทความนี้ผู้วิจัยได้ตั้งสมมุจิฐานว่า เป็นไปได้หรือไม่ที่นิทานเรื่องก่ำกาดำได้รับอิทธิพลจาก อรรถกถากุสราชชาดก ใน พระสูตตันตปิฎก ขุททกนิกายของพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท  กุศชาดก ใน มหาวัตถุ ของฝ่ายมหายาน และ สุวรรณสังชชาดก ใน ปัญญาสชาดก ซึ่งประพันธ์ขึ้นในอาณาจักกรล้านนา จึงได้ประยุกต์ใช้วิธีวิทยาทางคติชนวิทยา ได้แก่ การศึกษาอนุภาคของนิทาน การศึกษาแบบเรื่องของนิทาน และทฤษฎี
โครงสร้างนิยมเพื่อหาคำตอบของสมมุติฐานดังกล่าว
        ผลการศึกษาพบว่า นิทานเรื่องก่ำกาดำมีความสัมพันธ์กับชาดกทั้งฝ่ายเถรวาทและมหายานที่กล่าวไว้ในข้างต้นจริงทั้งในระดับอนุภาค แบบเรื่อง และในโครงสร้างระดับลึก และนำไปสู่ข้อสันนิษฐานใหม่ว่า มีความเป็นไปได้มาก ที่อรรถกถากุสชาดกและกุศชาดกจะเป็น “ต้นเรื่อง” ของสุวรรณสังขชาดกในปัญญาสชาดก ซึ่งต่อมาได้แพร่กระจายและแตกเรื่องออกเป็นนิทานแบบเรื่องสังข์ทองสำนวนต่าง ๆ รวมถึงเรื่องก่ำกาดำนี้ด้วย

คำสำคัญ

ก่ำกาดำ, วรรณกรรมนิทาน, ชาดก, อนุภาค, แบบเรื่อง, พุทธศาสนา


หน้า: 69-94

ประเภท: บทความวิจัย

เผยแพร่: 1 ก.ค. 2563

View: 240

Download: 39

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เท่านั้น
ภาษา
ค้นหา
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 182

เมื่อวานนี้: 163

เดือนนี้: 3,037

ปีนี้: 35,244

จำนวนเข้าชม: 117,056


สำนักงานวารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี

โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th