...
ภูมิทัศน์พระวิปัสสนาจารย์เพื่อการท่องเที่ยวเชิงพุทธ ในพื้นที่อีสานตอนล่าง
ผู้แต่ง
ฉลอง พันธ์จันทร์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของพุทธศาสนาในพื้นที่ภาคอีสานและ เพื่อศึกษาการขยายตัวของพุทธศาสนาสายธรรมยุติกนิกายและภูมิทัศน์พระวิปัสสนาจารย์และศึกษามรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสัมพันธ์กับพระวิปัสสนาจารย์ในมิติการท่องเที่ยวในพื้นที่อีสานตอนล่าง เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่มย่อย จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและแบบสุ่มตัวอย่าง จำนวน 50 คน

            ผลการวิจัยพบว่า อีสานเป็นแหล่งสะสมวัฒนธรรมตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์และในสมัยประวัติศาสตร์ ช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-15 คือสมัยทวารวดี พุทธศตวรรษที่ 15-18 สมัยขอม พุทธศตวรรษที่ 20-23 สมัยล้านช้าง และพุทธศตวรรษที่ 24-25 สมัยอาณาจักรสยาม ซึ่งพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนอีสานต่างวาระและหลายเส้นทาง พุทธศาสนาในพื้นที่อีสานมีลักษณะเป็นพุทธศาสนาแบบประชานิยม คือมีการผสมผสานระหว่างพราหมณ์ พุทธ และผี สำหรับจุดกำเนิดของพระวิปัสสนาจารย์ในภาคอีสานคือจังหวัดอุบลราชธานี โดยการแพร่ขยายของธรรมยุติกนิกายจากกรุงเทพฯ ในยุคแรกมีการขยายตัวด้านศาสนบุคคลโดยการถือญัตติพระภิกษุจากมหานิกายมาเป็นธรรมยุต พระวิปัสสนาจาร์ที่มีความโดดเด่นในพื้นที่อีสานตอนล่างคือ พระอาจารย์เสาร์ กันตสีโลและพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต

สำหรับมรดกทางวัฒนธรรมที่มีความสัมพันธ์กับพระวิปัสสนาจารย์และการท่องเที่ยวเชิงพุทธ สามารถจัดเป็นกลุ่มได้ 6 กลุ่ม คือ กลุ่มวัดสำคัญ กลุ่มพระธาตุ กลุ่มพิพิธภัณฑ์ กลุ่มพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ กลุ่มอัฐิธาตุและกลุ่มศาสนธรรม ส่วนเส้นทางการท่องเที่ยวสามารถจัดเป็นการท่องเที่ยวเชิงพุทธภายใต้ชื่อ “เส้นทางการท่องเที่ยวอาจริยบูชา”

คำสำคัญ

พระวิปัสสนาจารย์, การท่องเที่ยวเชิงพุทธ, ธรรมยุติกนิกาย, อีสานตอนล่าง


หน้า: 1-12

ประเภท: บทความวิจัย

เผยแพร่: 1 ม.ค. 2564

View: 182

Download: 44

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เท่านั้น
ภาษา
ค้นหา
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 7

วันนี้: 240

เมื่อวานนี้: 163

เดือนนี้: 3,095

ปีนี้: 35,302

จำนวนเข้าชม: 117,114


สำนักงานวารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี

โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th