...
เรือไฟ : พัฒนาการของเรือไฟจังหวัดนครพนมกับภาพสะท้อนสังคมและวัฒนธรรม จังหวัดนครพนม
ผู้แต่ง
ประยงค์ มุทธเสน

บทคัดย่อ

บทความวิจัย นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการของเรือไฟจังหวัดนครพนม ที่สะท้อนภาพสังคมวัฒนธรรมจังหวัดนครพนม ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ คือรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและการสัมภาษณ์ สังเกต สอบถาม จากผู้รู้ ผู้ปฏิบัติ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรือไฟจังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นออกเป็น 3 ยุค คือ 1)ยุคการสร้างเรือไฟด้วยการบูชาผีน้ำ 2)ยุคการสร้างเรือไฟด้วยความเชื่อทางพระพุทธศาสนา 3)ยุคการสร้างเรือไฟจังหวัดนครพนมที่สร้างขึ้นจากแนวคิดประเพณีประดิษฐ์ วิเคราะห์เนื้อหาโดยใช้ทฤษฎีโครงสร้างหน้าที่ ทฤษฎีนิเวศวัฒนธรรม รวมถึงแนวคิดประเพณีประดิษฐ์ ผลการศึกษาพบว่าเรือไฟจังหวัดนครพนมมีที่สะท้อนสังคมวัฒนธรรม สามารถแบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ 1) ด้านนิเวศวัฒนธรรม คือสภาพแวดล้อมพื้นที่จังหวัดนครพนมที่ติดกับแม่น้ำโขง ผู้คนดำรงชีวิตด้วยการทำเกษตรและเลี้ยงสัตว์จึงต้องหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดจากน้ำซึ่งในอดีตจะเชื่อเรื่องผี จึงเกิดการสร้างเครื่องบูชาผีน้ำขึ้น 2) ด้านความเชื่อและประเพณี คือการสร้างเครื่องบูชาผีน้ำเกิดจากกลัวในปรากฏการณ์ธรรมชาติ ความกลัวในภัยพิบัติจากแม่น้ำโขงไหลหลากในช่วงน้ำขึ้น ช่วง เดือน 11 ต่อมาเรียกว่า เรือไฟ และกลายเป็นประเพณีเดือน 11 ของคนอีสาน 3) ด้านการรวมกลุ่มของคนในชุมชน  ในการสร้างเรือไฟนครพนมผู้สร้างเรือไฟจะสร้างด้วยจิตอาสา ด้วยแรงกาย แรงใจ โดยไม่ได้มีค่าตอบแทนใดๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่หาได้ยากในสังคมปัจจุบัน 4) ด้านประเพณีประดิษฐ์และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ เรือไฟจังหวัดนครพนมถือเป็นประเพณีประดิษฐ์จึงมีผลต่อการเชื่อมโยงนโยบายของรัฐ ส่งผลดีต่อเศรษฐกิจในจังหวัดนครพนม และเศรษฐกิจของชาติ

คำสำคัญ

เรือไฟ, พัฒนาการ, ภาพสะท้อนสังคมวัฒนธรรม


หน้า: 47-67

ประเภท: บทความวิจัย

เผยแพร่: 1 ก.ค. 2564

View: 367

Download: 52

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เท่านั้น
ภาษา
ค้นหา
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 9

วันนี้: 193

เมื่อวานนี้: 163

เดือนนี้: 3,048

ปีนี้: 35,255

จำนวนเข้าชม: 117,067


สำนักงานวารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี

โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th