บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร และ 2) เพื่อพัฒนาแผนที่ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่นของกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยใช้แบบสอบถามเพื่อสอบถามเกี่ยวกับคำศัพท์ภาษาถิ่นของชุมชนในจังหวัดสกลนคร จำนวน 216 หมู่บ้าน ซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้นำชุมชนจำนวน 216 คน และใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 5 คน และนำเสนอผลการวิเคราะห์ด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า ภูมิศาสตร์คำศัพท์ภาษาถิ่นในจังหวัดสกลนครแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) ภาษาในกลุ่มตระกูลไท-กะได ประกอบด้วย ภาษาผู้ไท ภาษาญ้อ ภาษาลาว ภาษากะเลิง และภาษาโย้ย และ 2) ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยมอญ-เขมร ประกอบด้วย ภาษาโส้ ภาษาบรู และภาษาโซ่ (ทะวืง) ซึ่งลักษณะสำคัญของภาษาถิ่นกลุ่มตระกูลไท-กะไดเป็นภาษาคำโดด มีพยางค์เดียว และมีเสียงวรรณยุกต์ ส่วนลักษณะสำคัญของภาษาในกลุ่มตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยมอญ-เขมรเป็นคำพยางค์เดียวและคำหลายพยางค์ ไม่มีเสียงวรรณยุกต์แต่มีลักษณะเสียงสำคัญ ด้านแผนที่ภูมิศาสตร์คำศัพท์ภาษาถิ่นในจังหวัดสกลนคร พบว่า ผลการวิเคราะห์หน่วยอรรถทั้งสิ้นจำนวน 190 หน่วยอรรถ และแจกจงลงในแผนที่ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่นของจังหวัดสกลนครโดยการใช้สัญลักษณ์และสีเพื่อแสดงความแตกต่างของภาษาถิ่นที่ใช้พูดในจังหวัดสกลนคร ซึ่งจำแนกได้เป็นภูมิศาสตร์คำศัพท์ภาษาตระกูลไทซึ่งแทนด้วยสัญลักษณ์สีฟ้า ซึ่งมีจำนวนผู้พูดกระจายตัวอาศัยอยู่ในพื้นที่ต่าง ๆ ของจังหวัดสกลนครเป็นจำนวนมาก ส่วนภูมิศาสตร์คำศัพท์ภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก สาขาย่อยมอญ-เขมรแทนด้วยสัญลักษณ์สีม่วง ซึ่งมีกลุ่มชนที่พูดภาษาดังกล่าวอยู่ในพื้นที่บางอำเภอของจังหวัดสกลนคร
คำสำคัญ
ภูมิศาสตร์ภาษาถิ่น / กลุ่มชาติพันธุ์ / ภาษาศาสตร์ชาติพันธุ์
หน้า: 68-83
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ก.ค. 2565
View: 539
Download: 92
กำลังออนไลน์: 7
วันนี้: 198
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 3,053
ปีนี้: 35,260
จำนวนเข้าชม: 117,072
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th