บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์เนื้อหาของเพลงไทยร่วมสมัยที่ปรากฏในบทเพลงโควิด 19 และ 2) เพื่อศึกษาภาพสะท้อนของเพลงไทยร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์โควิด 19 โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการเก็บรวบรวมข้อมูลเพลงไทยร่วมสมัยที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์โควิด 19 จากฐานข้อมูลและเว็บไซต์จำนวน 113 บทเพลง แล้วนำเสนอผลข้อมูลด้วยการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า เนื้อหาของเพลงไทยร่วมสมัยที่ปรากฏในบทเพลงโควิด 19 ประกอบด้วย 1) เนื้อหาในด้านความรัก 2) เนื้อหาด้านวิถีชีวิต 3) ด้านเหตุการณ์ในชีวิตประจำวัน 4) ด้านเศรษฐกิจ 5) ด้านการรณรงค์ป้องกัน และ 6) ด้านการปลอบประโลม การให้กำลังใจ การผ่อนคลาย และลดความตรึงเครียด และการใช้ภาษาในเพลงไทยร่วมสมัยที่ปรากฏในบทเพลงโควิด 19 พบว่า มีการใช้คำ ได้แก่ การเล่นเสียงสัมผัสสระ และพยัญชนะ ใช้การเล่นคำ ใช้การซ้ำคำ และการใช้โวหารภาพพจน์ ได้แก่ การใช้อุปลักษณ์โวหาร การใช้อุปมาโวหาร การใช้บุคลาธิษฐาน การใช้อติพจน์ และการใช้สัญลักษณ์ ส่วนภาพสะท้อนที่ปรากฏในเพลงไทยร่วมสมัยในบทเพลงโควิด 19 พบว่า มีภาพสะท้อนในด้านการเสียดสีสังคม และความเหลื่อมล้ำทางสังคมหลายด้าน ได้แก่ 1) ความเหลื่อมล้ำด้านการเข้ารับบริการสาธารณสุข 2) ความเหลื่อมล้ำด้านสวัสดิการ และ 3) ความเหลื่อมล้ำด้านการอุปโภคบริโภค โดยความเหลื่อมล้ำที่พบในเนื้อหาเพลง ได้สะท้อนถึงปัญหาที่ประชาชนส่วนมากได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 แต่ไม่ได้รับการเยียวยาจากรัฐบาลได้อย่างทั่วถึง จึงเกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ผู้ประพันธ์จึงได้นำปัญหาความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในช่วงสถานการณ์โควิด 19 ที่กำลังแพร่ระบาดในปัจจุบัน มาสอดแทรกในเนื้อหาของเพลง เพื่อเป็นตัวแทนของประชาชนในการบอกถึงปัญหาที่ต้องการให้ทางภาครัฐช่วยเหลือ และเยียวยา
คำสำคัญ
ปรากฏการณ์โควิด 19 / เพลงไทยร่วมสมัย / ภาพสะท้อนของเพลงในสังคมไทย
หน้า: 111-125
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ก.ค. 2564
View: 229
Download: 48
กำลังออนไลน์: 7
วันนี้: 178
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 3,034
ปีนี้: 35,241
จำนวนเข้าชม: 117,052
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th