บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการจัดการเรียนการสอนในศตวรรษที่ 21 ซึ่งภาษาจีนเป็นภาษาที่มีความสำคัญเพราะมีผู้ใช้ทั่วโลกประมาณ 1.3 พันล้านคน จึงทำให้ผู้ที่เรียนภาษาจีนมีโอกาสเจริญก้าวหน้าในด้านต่าง ๆ ทั้งในระดับบุคคล และระดับประเทศ เช่น การศึกษาความรู้วิทยาการ การประกอบธุรกิจการลงทุน และการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศ ที่สำคัญการเรียนภาษาจีนในยุคปัจจุบันที่มีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 หรือ ไวรัสโควิด-19 ทำให้ต้องมีการปรับรูปแบบการเรียนการสอน การเรียนแบบกลับด้านจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยี และเทคนิคต่าง ๆ มากขึ้น จึงถือเป็นการได้เปิดโลกทัศน์ให้ผู้เรียนได้เห็นความแตกต่างด้านวัฒนธรรมได้อย่างน่าสนใจ และทำให้สามารถเรียนรู้ทักษะได้เสมือนจริง ถูกต้อง แม่นยำ ทันสมัย รวดเร็วยิ่งขึ้นโดยใช้แนวคิดห้องเรียนแบบกลับด้านที่นำมาพัฒนาการเรียนการสอนในรายวิชาภาษาจีนเบื้องต้น 1 ซึ่งกลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จำนวน 52 คน โดยแบ่งเป็นชาย 10 คน และหญิง 42 คน
ในงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณาและเชิงปริมาณ ซึ่งเครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยนี้ จะเก็บข้อมูลแบบก่อน และหลังจากการสอนแบบกลับด้าน การหาค่าเฉลี่ย การหาค่าเบี่ยงเบนมาตรฐ จากการเปลี่ยนรูปแบบการเรียนการสอนแบบห้องเรียนแบบกลับด้านนำมาใช้สอนพบว่านักศึกษามีความเข้าใจทางด้านภาษาเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.60 โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเป็นรายบุคคล พบว่านักศึกษาได้คะแนนความก้าวหน้าเพิ่มขึ้นทุกคนตั้งแต่ร้อยละ 6.85 ถึง 8.91 และช่วยส่งเสริมให้นักศึกษามีความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น มีการทบทวนบทเรียนได้ตลอดเวลา การแลกเปลี่ยนความรู้ต่อผู้สอนจึงทำให้รูปแบบการเรียนนี้สามารถช่วยให้นักศึกษามีความเข้าใจเนื้อหาเพิ่มมากขึ้น
คำสำคัญ
การจัดการเรียนการสอน, ห้องเรียนกลับด้าน, ภาษาจีน
หน้า: 9-35
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ม.ค. 2565
View: 331
Download: 101
กำลังออนไลน์: 2
วันนี้: 67
เมื่อวานนี้: 159
เดือนนี้: 3,392
ปีนี้: 35,599
จำนวนเข้าชม: 117,411
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th