บทคัดย่อ
การวิจัยเรื่อง “วัฒนธรรมเซิ้งผีโขน : องค์ความรู้ทางภูมิปัญญาและศักยภาพเพื่อการจัดการท่องเที่ยว เชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ชุมชนไฮหย่อง ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนคร”ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพในการดําเนินกิจกรรมการวิจัย มีวัตถุประสงค์
1.) เพื่อศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้ทางภูมิปัญญาเกี่ยวกับวัฒนธรรม เซิ้งผีโขน ตำบลไฮหย่อง อำเภอพังโคน จังหวัดสกลนครนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวได้
2.)เพื่อจัดทำข้อเสนอการท่องเที่ยวเที่ยวเชิงวัฒนธรรมต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการส่งเสริมแนวทางการท่องเที่ยวอย่างต่อเนื่อง กลุ่มตัวอย่างประชากรที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วยปราชญ์ชาวบ้าน วัฒนธรรมตําบล ผู้ใหญ่บ้าน กํานัน และชาวบ้านในชุมชนท้องถิ่น เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบบันทึกข้อมูล แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่มและการจัดการประชุม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนําเสนอข้อมูลด้วยการพรรณนาเชิงวิเคราะห์
ผลการศึกษาพบว่าการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมประเพณีเซิ้งผีโขนบุญพระเวสบ้านไฮหย่องมีความสนุกสนานรื่นรมย์บนพื้นฐานของความเชื่อความศรัทธาต่อการทำความดีผ่านบทผญาอีสาน ตลอดจนความร่วมมือและความสามัคคีของชาวบ้านในแต่ละหมู่บ้าน ในการดําเนินกิจกรรมตามประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่นนี้ต่อไป
คำสำคัญ
เซิ้งผีโขน บทผญาอีสาน บ้านไฮหย่อง
หน้า: 56-79
ประเภท: บทความวิจัย
เผยแพร่: 1 ม.ค. 2565
View: 416
Download: 92
กำลังออนไลน์: 7
วันนี้: 176
เมื่อวานนี้: 163
เดือนนี้: 3,031
ปีนี้: 35,238
จำนวนเข้าชม: 117,050
คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014
บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม
ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี
โทร: 0636255597 E-Mail : pulpaya@snru.ac.th