...
การส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร
ผู้แต่ง
รศ.ดร.สายันต์ บุญใบ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบดนตรีพื้นบ้าน  ทางเลือกที่เหมาะสมในการส่งเสริมและอนุรักษ์  และประสิทธิผลการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร  กลุ่มผู้ร่วมวิจัยจำนวน 62 คน  ได้แก่  ผู้วิจัย  และผู้ร่วมวิจัยจำนวน 61 คน  กลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 52 คน  ขอบเขตด้านเนื้อหา  ได้แก่  เครื่องดนตรี  รูปแบบดนตรี  และท่วงทำนอง  ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย 12 เดือน  เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน  ประกอบด้วย  การวางแผน  การปฏิบัติการ  การสังเกตการณ์  และการสะท้อนกลับ  2 วงรอบ  เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล  ได้แก่  แบบสัมภาษณ์แบบเป็นทางการแบบมีโครงสร้างระดับกลางจำนวน 2 ฉบับ  แบบบันทึกการประชุม  แบบบันทึก  การสนทนากลุ่ม  และแบบสังเกต

                 ผลการวิจัยพบว่า

                 1. การศึกษาองค์ความรู้เกี่ยวกับรูปแบบดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร  พบว่า  รูปแบบดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหารควรมีองค์ประกอบของดนตรีที่ครบถ้วน  เป็นศิลปะที่เกิดจากการสร้างเสียงให้อยู่ในระเบียบของเสียง  จังหวะ  ทำนอง  สีสันของเสียง  พื้นผิวของเสียง  และคีตลักษณ์  โดยการใช้เสียงที่หลากหลายทั้งการดีด  สี  ตี  และเป่า  เครื่องดนตรีที่ร่วมสร้างสรรค์รูปแบบดนตรีในพิธีบวงสรวงควรเป็นดนตรีพื้นบ้านมีแคน  พิณ  โปงลาง  และโหวดเป็นหลัก

                 2. ทางเลือกที่เหมาะสมในการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร  ประกอบด้วย  การประชุมเชิงปฏิบัติการ  การนิเทศติดตาม  และการนิเทศแบบให้คำชี้แนะ

                 3. การศึกษาประสิทธิผลการส่งเสริมและอนุรักษ์ดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหาร  พบว่า  รูปแบบดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงพระธาตุเชิงชุมวรวิหารมีระดับเสียงที่พอเหมาะ  ในอัตราจังหวะปานกลาง  มีความสม่ำเสมอเพื่อความสะดวกต่อการรำ  ลักษณะของท่วงทำนองมีระดับเสียงที่ร้อยเรียงง่ายต่อการจดจำ  ในลีลาที่มีความสนุกสนานเพลิดเพลินเพื่อเชิญชวนให้ผู้คนเข้าร่วมพิธีบวงสรวง  รูปแบบดนตรีพื้นบ้านในพิธีบวงสรวงบางช่วงของท่วงทำนองมีเค้าโครงจากลายเดิมคือลายภูไท  ซึ่งเป็นลายที่คนส่วนใหญ่ที่เข้าร่วมในพิธีบวงสรวงมีความคุ้นเคย

คำสำคัญ

ดนตรีพื้นบ้าน พิธีบวงสรวงพระธาตุ


หน้า: 94-121

ประเภท: บทความวิจัย

เผยแพร่: 1 ม.ค. 2565

View: 320

Download: 74

บทความทุกบทความเป็นลิขสิทธิ์ของ วารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เท่านั้น
ภาษา
ค้นหา
ผู้ใช้งานเข้าสู่ระบบ
สถิติการเข้าชมเว็บไซต์

กำลังออนไลน์: 2

วันนี้: 0

เมื่อวานนี้: 157

เดือนนี้: 2,091

ปีนี้: 26,955

จำนวนเข้าชม: 108,767


สำนักงานวารสารภูพานสาส์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร 680 ถ.นิตโย ต.ธาตุเชิงชุม อ.เมือง จ.สกลนคร 47000 โทร 0 4274 4014

ติดต่อเรา

บรรณาธิการ: ผู้ช่วยศาสตราจารย์รัฐพล ฤทธิธรรม

ติดต่อ/สอบถาม: นางสาวภุลภญา บีลี

โทร: 0636255597